Potter Story Web's : โลกเวทมนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ & สัตว์มหัศจรรย์ฯ !!
ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ

กีฬาควิดดิช (Quidditch)

กีฬาควิดดิช

เป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในโลกเวทมนตร์ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ โดยถือว่าเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้านพักนักเรียนแต่ละหลัง ซึ่งบ้านที่มักได้รับแชมป์ในการแข่งขัน คือ กริฟฟินดอร์

ควิดดิช ประกอบไปด้วยผู้เล่นแต่ละทีมจำนวน 7 คน 4 ตำแหน่ง ได้แก่

  • 3 เชสเซอร์
  • 2 บีตเตอร์
  • 1 คีปเปอร์
  • 1 ซีกเกอร์

มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น คือ ลูกบอลจำนวน 4 ลูก ได้แก่

  • ควัฟเฟิล (ลูกสีแดง จำนวน 1 ลูก) จะใช้ในการทำแต้ม
  • บลัดเจอร์ (ลูกสีดำ จำนวน 2 ลูก) จะใช้เพิ่มอุปสรรคให้กับผู้เล่น โดยจะสามารถชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาดได้
  • โกลเด้นสนิช (ลูกสีทองมีปีก จำนวน 1 ลูก) จะใช้ในการทำคะแนนสูงสุดถึง 150 แต้ม และ เมื่อจับได้จะถือว่าสิ้นสุดเกม

โดยที่ฮอกวอตส์จะมีการแข่งขันควิดดิชระหว่างบ้านเป็นประจำทุกๆปี

นอกจากนี้กีฬาควิดดิชยังได้รับความนิชมแพร่หลายทั่วโลก ถือว่าเป็นกีฬาสุดฮิตของประชานชนผู้วิเศษ โดยมีการจัดการแข่งขัน Quidditch World Cup โดยแต่ละครั้งจะมีนักกีฬาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน ( ปรากฎในหนังสือเล่ม 4 ) และ นักกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้คือ วิกเตอร์ ครัม นักกีฬาทีมชาติบัลแกเรีย

กีฬาควิดดิช-2

The Quidditch World Cup stadium from Harry Potter and the Goblet of Fire .


กติกาการเล่น และ การทำคะแนน

ในกีฬาควิดดิชนั้น การทำคะแนนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยผู้เล่นในตำแหน่ง เชสเซอร์ จะมีหน้าที่เลี้ยงลูกบอล ควัฟเฟิล ที่มีค่า 10 คะแนน เมื่อสามารถโยนเข้าห่วงใดห่วงหนึ่งของฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จ ซึ่งห่วงดังนั้นจะอยู่บนเสาสามเสาด้วยกัน ดังนั้นแต่ละฝ่ายจะมีห่วงถึง 3 ห่วงที่สามารถทำคะแนนได้ ทั้งนี้การปกป้องการทำประตู หรือ หน้าที่ผู้รักษาประตู จะเป็นหน้าที่ของ คีปเปอร์

ระหว่างการเล่นเกมนั้น อุปสรรคที่สามารถทำให้ผู้เล่นเกิดการบาดเจ็บได้มากที่สุดคือ ลูกบอลบลัดเจอร์ มีหน้าที่ชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาด ส่งผลให้ผู้เล่นในสนามลดลงได้หากเกิดการบาดเจ็บร้ายแรง ดังนั้นแต่ละทีจะมีตำแหน่ง บีตเตอร์ 2 คนเพื่อช่วยป้องกันสมาชิกในทีมจากลูกบอลบลัดเจอร์ ซึ่งบีตเตอร์แต่ละคนจะมีไม้จับถนัดมือสำหรับหวดบลัดเจอร์ ทั้งนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการทำร้ายฝั่งตรงข้ามได้โดยการหวดลูกบลัดเจอร์ ไปที่สมาชิกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งถือว่าไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

สำหรับการทำคะแนนสูงสุดในเกมการแข่งขันสามารถทำได้โดยการจับ ลูกโกลเด้นสนิช ที่มีคะแนนถึง 150 แต้ม โดยหน้าที่นี้จะเป็นหน้าที่ของตำแหน่ง ซีกเกอร์ ซึ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ ก็ได้รับตำแหน่งนี้ในทีม กริฟฟินดอร์ การแข่งขันจะสิ้นสุดเมื่อ ซีกเกอร์ จับลูกโกลเด้นสนิชได้เท่านั้น ทั้งนี้การจับลูกโกลเด้นสนิชไม่ได้การันตีว่าทีมที่จับได้จะชนะเสมอไป

กีฬาควิดดิช-3

Quidditch Set Accessories by Tonner

ระเบียบข้อบังคับ

ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ ถูกกำหนดไว้โดยกองควบคุมดูแลเกม และ กีฬาเวทมนตร์ Snitch เมื่อการก่อตั้งกองขึ้นใน ค.ศ.1750 เพื่อนใช้เป็นเงื่อนไข และ กติกาในการแข่งขันกีฬาดวิดดิชสากล

สนามการแข่งขันเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 500 ฟุต กว้างประมาณ 180 ฟุต ตรงกลางมีวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ฟุต มีเขตทำคะแนนสำหรับ เชสเซอร์ ในเขตทำคะแนนมี ห่วงข้างละ 3 ห่วง แต่ละห่วงจะมีความสูงต่ำไม่เท่ากัน

ระดับการบินแม้จะไม่มีการกำหนดว่าระดับความสูงใดๆถือว่าผิดกติกา แต่การบินนั้นต้องอยู่ในพื้นที่เขตสนาม หากฝ่ายใดออกนอกเขตสนามถือว่าผิดกติกา ต้องให้ลูกควัฟเฟิลกับฝ่ายตรงกันข้ามทันที

การขอเวลานอกสามารถกระทำได้โดยหัวหน้าทีม หรือ กัปตัน ส่งสัญญาณขอเวลานอกให้กรรมการได้รับทราบ การขอเวลานอกอาจะยืดได้มากถึง 2 ชั่วโมง

ห้ามเท้าของผู้แข่งขันทุกท่านแตะพื้นสนาม เว้นแต่ช่วงขอเวลานอกเท่านั้น ทั้งนี้ผู้แข่งขันสามารถไช้ไม้กวาดยี่ห้อใด , รุ่นใด , แบบใดก็ได้เข้าร่วมการแข่งขัน.

ผู้แข่งขันสามารถแย่งลูกควัฟเฟิล จากมือของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามได้เลย แต่ห้ามแตะต้องส่วนอื่นๆของร่ายกายที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้

ในกรณีผู้เข้าแข่งขันบาดเจ็บจนไม่สามารถเล่นต่อได้ การแข่งขันจะดำเนินต่อไปโดยไม่มีการเปลี่นยนตัวเป็นผู้เล่นสำรอง

ผู้วิเศษทุกท่านสามารถนำไม้กายสิทธิ์ติดตัวเข้าไปในสนามกีฬาได้ แต่กระนั้นในช่วงที่อยู่ในสนาม ห้ามผู้วิเศษใช้ไม้กายสิทธิ์กับนักกีฬา , ไม้กวาดที่ใช้ในการแข่งขัน , กรรมการ , ลูกบอล และ คนดู

เกมการแข่งขันควิดดิช จะยุติได้ก็ต่อเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถจับลูกโกลเด้นสนิชได้ หรือ อาจเป็นไปด้วยความยินยอมพร้อมใจของกัปตันทีมทั้ง 2 ฝ่าย

Quidditch : The Golden Snitch

ลักษณะการกระทำผิด

Blagging – การคว้าปลายไม้กวาดของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้บินได้ช้า หรือขัดขวางการเล่น
Blatching – ผู้แข่งขันตั้งใจบินไปชนอีกฝ่ายหนึ่งโดยตรง
Blurting – ผู้แข่งขันใช้ไม้กวาดงัดไม้กวาดฝ่ายตรงข้าม ดันให้กระเด็นออกไปนอกทาง
Blumphing – บีตเตอร์หวดบลัดเจอร์ไปทางคนดู ทำให้ต้องหยุดการแข่งขันชั่วขณะ
Cobbing – ผู้แข่งขันใช้ข้อศอกอย่างรุนแรง กับ ฝ่ายตรงข้าม
Flacking – คีปเปอร์ยื่นส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผ่านห่วงประตูเข้าไปเพื่อสกัดลูกควัฟเฟิล
Havesacking – เชสเซอร์จับลูกควัฟเฟิลเข้าประตูโดยตรง (การทำประตูต้องโยนเท่านั้น )
Quafflepocking – เชสเซอร์ ทำการดัดแปลงลูกควัฟเฟิล เพื่อส่งผลที่ปิดเพี้ยนไปจากเดิม
Snitchnip – ผู้แข่งขันคนอื่นนอกจากซีกเกอร์ ห้ามแตะต้องลูกสนิช
Stooging – เชสเซอร์มากกว่า 1 คน เข้าไปในเขตทำคะแนนไม่ได้

กีฬาควิดดิชในปัจจุบัน

กีฬาควิดดิชยังคงทำให้แฟนๆตื่นเต้นเร้าใจและคลั่งไคล้ไปทั่วโลกปัจจุบัน รับประกันได้ว่าคนที่ซื้อตั๋วดูการแข่งขันควิดดิชทุกคนจะได้เห็นการแข่งขันที่มีชั้นเชิงสูง ระหว่างผู้เล่นที่บินอย่างเชี่ยวชาญยิ่ง (แน่นอน ยกเว้นแต่ว่าจะจับลูกสนิชได้ในห้านาทีแรกของการแข่งขัน ถ้าเป็นเช่นนี้พวกเราทุกคนคงรู้สึกว่าถูกโกงหน่อยๆ เหมือนได้รับเงินทอนไม่ครบทำนองนั้น) ไม่มีอะไรจะพิสูจน์ความดีเด่นของเกมควิดดิชได้ดีไปกว่าท่าเล่นยากๆ ที่บรรดาผู้เล่นพ่อมดแม่มดทั้งหลายสร้างสรรค์ขึ้นมาตลอดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของกีฬานี้ พ่อมดแม่มดเหล่านี้กระตือรือร้นที่จะสร้างท่าเล่นยากๆ เพื่อผลักดันผู้เล่นและกีฬานี้ให้ดีขึ้นเท่าที่พวกเขาจะสามารถทำได้ ต่อไปนี้คือ ท่าเล่นพิสดารบางทาที่ยกมาเป็นตัวอย่าง

บลัดเจอร์ แบ็กบีต (Bludger Backbeat)

เป็นท่าที่บีตเตอร์ตีลูกบลัดเจอร์ด้วยไม้ตีในท่าแบ็กแฮนด์ ส่งลูดบลัดเจอร์ลอยไปข้างหลังเขาหรือเธอ แทนที่จะไปข้างหน้า ท่านี้ตีให้เที่ยวตรงแม่นยำได้ยาก แต่ดีเลิศในแง่ทำให้คู่ต่อสู้งุนงง

ด๊อปเปิ้ลบีตเตอร์ ดีเฟนซ์ (Dopplebeater Defence)

บีตเตอร์ทั้งสองคนใช้แรงมากเป็นพิเศษตีลูกบลัดเจอร์พร้อมกัน ผลคือในการรุกครั้งต่อไป ลูกบลัดเจอร์จะโจมตีอย่างดุเดือดรุนแรงมากขึ้นไปอีก

ดับเบิ้ล เอต ลูป (Double Eight Loop)

เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ ปกติมักใช้ป้องกันการโยนลูกโทษ คีปเปอร์จะบินเลี้ยวโค้งเป็นรูปเลขแปดไปรอบๆห่วงประตูทั้งสาม ห่วงด้วยความเร็วสูงเพื่อคอยกันลูกควิฟเฟิล

ฮอกส์เฮด อะแทกกิ้ง ฟอร์เมชั่น (Hawkshead Attacking Formation)

เชสเซอร์มารวมตัวกันทำเป็นรูปหัวลูกศร บินไปพร้อมๆกันมุ่งไปที่เสาประตู ท่านี้ข่มขวัญทีมคู่ต่อสู้ได้มาก และมีประสิทธิภาพในการบังคับให้ผู้เล่นอื่นต้องบินหลบไปข้างๆ

พาร์กินส์ พินเชอร์ (Parkin’s Pincer)

ตั้งชื่อตามผู้เล่นในทีมวิกทาวน์ วันเดอเรอส์ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนประดิษฐ์ท่านี้ขึ้นมา เชสเซอร์สองคนช่วยกันบินเข้าไปบีบเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามจากด้านซ้ายและขวา ชณะที่เชสเซอร์คนที่สามบินพุ่งตรงเข้าไปหาเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามนั้น

พลัมป์ตัน พาส (Plumpton Pass)

เป็นท่าเลี้ยวโค้งหมุนตัวที่ดูเหมือนไม่ได้ตั้งใจทำของซีกเกอร์ แต่สามารถคว้าจับลูกสนิชที่ลอยอยู่ที่แขนเสื้อไว้ได้ นับเป็นทีเด็ดอย่างหนึ่ง ตั้งชื่อตามรอดดริก พลัมป์ตัน ซีกเกอร์ของทีมทัดชิล ทอร์เนโดส์ ที่ใช้ท่านี้ในการจับลูกสนิชที่โด่งดังเป็นประวัติการณ์ในค.ศ.1921 แม้ว่านักวิจารณ์หลายคนจะกล่าวหาว่าที่เขาทำได้นั้นเป็นเรื่องบังเอิญ แต่พลัมป์ตันยืนกรานจวบจนเขาถึงแก่กรรมว่าเขาตั้งใจทำท่านั้นจับลูกสนิชจริงๆ

พอร์สคอฟ พลอย (Porskoff Ploy)

เชสเซอร์ถือลูกควิฟเฟิลบินทะยานขึ้นไปในอากาศ ล่อให้เชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามเชื่อว่าเขาหรือเธอกำลังพยายามบินหนีไปทำคะแนน แต่แล้วก็โยนควัฟเฟิลลงมาข้างล่างให้เชสเซอร์ทีมเดียวกันที่คอยรับอยู่ เชสเซอร์ทั้งสองต้องกะจังหวะเวลาให้ตรงกันพอดี นี่เป็นหัวใจของท่านี้ ตั้งชื่อของเพ็ตโทรว่า พอร์สคอฟ เชสเซอร์ชาวรัสเซีย

รีเวิร์ส พาส (Reverse Pass)

เชสเซอร์โยนลูกควิฟเฟิลข้ามไหล่ของตนไปให้ผู้เล่นทีมเดียวกันอีกคน การโยนให้ได้แม่นยำนั้นทำได้ยากมาก

สล็อท กริป โรลล์ (Sloth Grip Roll)

ห้อยกลับหัวจากไม้กวาด ยึดไม้กวาดไว้แน่นด้วยมือและเท้าสองข้างเพื่อหลบหลีกลูกบลัดเจอร์

สตาร์ฟิชแอนด์สติ๊ก (Starfish and Stick)

เป็นท่าป้องกันของคีปเปอร์ โดยคีปเปอร์ถือไม้กวาดในแนวนอน ใช้มือและเท้าข้างหนึ่งเกี่ยวจับด้ามไม้กวาดแน่น ในขณะที่กางแขนและขาอีกข้างออกไปตรงๆ (ดูรูป ช.) ท่าปลาดาวแต่ไม่มีไม้นั้นไม่ควรลองทำอย่างยิ่ง

ทรานซิลเวเนียน แท็กเคิล (Transylvianian Tackle)

เป็นท่าต่อยหลอกๆเล็งไปที่จมูก ไม่ถือว่าผิดกติกาจนกว่าจะสัมผัสกันจริงๆ แต่ก็หยุดได้ยากมากเมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่บนไม้กวาดที่มีความเร็วสูง ปรากฎครั้งแรกในควิดดิชเวิลด์คัพ ค.ศ.1473

วูลลองกอง ชิมมี่ (Woollongong Shimmy)

เป็นท่าที่ทีมวูลลองกอง วอร์ริเออส์ จากออกเตรเลียทำได้สมบูรณ์แบบมาก นี่เป็นท่าบินซิกแซ็กด้วยความเร็วสูง เพื่อสลัดเชสเซอร์ฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ติดตามได้

รอนสกี้ เฟนต์ (Wronski Feint)

ซีกเกอร์บินข้างสิ่งกีดขวางไปที่พื้นสนาม ทำเป็นว่าเห็นลูกสนิชอยู่ไกลๆข้างล่าง แล้วเชิดหัวไม้กวาดขึ้นก่อนจะดิ่งลงไปกระแทกพื้น ท่านี้ตั้งใจหลอกให้ซีกเกอร์อีกฝ่ายทำตามจนดิ่งไปกระแทกพื้น ตั้งชื่อว่าโจเซฟ รอนสกี้ ซีกเกอร์ชาวโปแลนด์

ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าควิดดิชได้เปลี่ยนไปมาก จากที่เคยได้รู้เมื่อครั้งที่ เกอร์ตี้ ค็ดเดิล เห็น ‘พวกกะโหลกทึบ’ เล่นกันที่หนองน้ำเควียดิช บางทีถ้า เกอร์ตี้ มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน เธอเองก็อาจจะตื่นเต้นเร้าใจไปกับบทกวี และพลังของเกมควิดดิชเหมือนกัน ขอให้กีฬานี้จงพัฒนาก้าวหน้าต่อไปอีกนานเท่านาน และ ขอให้พ่อมดแม่มดรุ่นต่อไปในอนาคตได้สนุกนานเพลิดเพลินกับกีฬาที่วิเศษที่สุดนี้ชั่วกาลนาน

Notes and References

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว.

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save