ผู้เขียน หัวข้อ: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก  (อ่าน 4860 ครั้ง)

SinX_ZeRo

  • I'M SO ALONE.
  • ผู้วิเศษเลือดบริสุทธิ์
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 232
20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2009, 08:48:06 am »
          การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการอนุรักษ์ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ หรือแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่า หรือน้ำตก ชายหาด เกาะ แก่ง ปะการัง ที่มีทัศนียภาพสวยงามและมีคุณค่าทางนันทนาการ แต่สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึงนั้น สาธารณชนส่วนใหญ่มักมองข้ามคุณค่าไป โดยเห็นว่าเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีทรัพยากรที่มีค่า ไม่มีประโยชน์ เป็นเพียงพื้นที่เฉอะแฉะ มีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีพิษ เช่น งู และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น ยุง ที่รบกวนความเป็นอยู่ของชุมชนใกล้เคียงทั้ง ๆ ที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับพื้นที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณดังคำกล่าวที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนชนบท จนมีผู้กล่าวว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เกตของชุมชน" ที่ชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน "พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นคำที่ใช้เรียกระบบนิเวศที่ปกคลุมด้วยพื้นน้ำบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างถาวรหรือในช่วงเวลาหนึ่ง จึงมีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนมากจะเป็นพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ ที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวหรือเป็นระยะ ๆ นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจืด พื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล โดยที่ความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์นานาชนิดที่อาศัยทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรชีวภาพที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต พื้นที่ชุ่มน้ำโลกมีคุณประโยชน ์คือ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วม ลดการพังทลายหน้าดิน ควบคุมการไหลเวียนของน้ำไปยังแหล่งน้ำใต้ดินและรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ จากนิยามดังกล่าวทำให้พื้นที่มากมายมีลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง บริเวณที่ลุ่มน้ำจืดชื้นแฉะ ทะเลสาบ พื้นที่พรุ และบริเวณป่าที่ลุ่มน้ำขัง หรือแม้กระทั่งพื้นที่น้ำขังที่พัฒนาโดยมนุษย์ เช่น นาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการจำแนกรวมกับพื้นที่ที่ไม่ได้รับการจำแนกและคุ้มครองในรูปพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ที่รวมถึงป่าชายเลน ป่าพรุ ทะเล หนองและบึง ต่าง ๆ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น   15.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ประเทศ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ ชุ่มน้ำโดยรวมประชาชนทั่วไปและองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความเข้าใจต่อ ความสำคัญทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้มีการบุกรุกทำลายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หลากหลาย  นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชนท้องถิ่น ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อความเสื่อมโทรม การลดลงและสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงเกิดอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้น เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขการจัดการในแต่ละประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ” ขึ้นใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์ วัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและเป็นข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อม  ปัจจุบันพื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวประมงที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นตาข่ายดักปลา ลอบและเบ็ดราว และมีประชาชนที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว โดยที่พื้นที่ทำนาบางส่วนในจำนวนนี้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าฯ มีประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ควาย โดยอาศัยพื้นที่ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่  3  แห่ง บริเวณทางตอนเหนือ ตะวันออกและใต้ รวมพื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ และอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่งคือการทำเครื่องจักสานจากกระจูด ซึ่งได้ทำต่อเนื่องสืบทอดมาหลายชั่วอายุ โดยสมัยก่อนเป็นการเก็บกระจูดจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเมื่อกระจูดเหลือน้อยลงได้มีการทำนากระจูดขึ้นในหลายพื้นที่ รวมพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่ และประชาชนบางส่วนได้รับรายได้จากการท่องเที่ยว จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า  200,000 คน ต่อปี   


ที่มา  http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_02_2.htm
       http://www.reo12.in.th/news/news2002/january/jandoc3.html
       http://www.tungsong.com/Important_Day/index_importantday.php

[[:F{oreVer}[HHR:]]

  • บุคคลทั่วไป
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2009, 02:09:34 pm »
ขอบคุณมากครับนะครับ
ที่นำความรู้มาให้
เราควรจะช่วยกันอนุรักษ์
ไว้นะครับ :D

however95

  • บุคคลทั่วไป
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2009, 02:20:19 pm »
Keep

safe

grow

ARIANA

  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 3
  • ********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 687
  • GOD SAVE THE KING
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2009, 01:38:22 am »
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ครับ
ALLIEAEK
LOVE YOU EVERYDAY AND TWICE ON SUNDAY

pezacasino

  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2009, 04:48:30 am »
ขอบคุณที่นำความรู้มาให้
น่ะค่ะ

love_Ron

  • ปาร์ค แจบอม ณ ซีแอตเทิล.
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 6
  • *********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1020
  • ~i'm ฟางฟาง คอน~
    • ●  รู้ลึก รู้ดี (เรื่อง) รูเพิร์ต ●
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2009, 10:26:45 am »
ขอบคุณน่ะค่ะน่าสนใจมากเลย ท่าทางฟางจะได้เรื่องทำรายงานอีกแล้วแหล่ะค่ะ :"D


willy MVP

  • บุคคลทั่วไป
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 10:50:56 am »
Thank you  :D

kalberos

  • มักเกิ้ล
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 23
Re: 20-02-09: วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 01:41:33 pm »
ขอบคุณครับ 8) 8) 8) 8)

 

SMF spam blocked by CleanTalk