ผู้เขียน หัวข้อ: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น  (อ่าน 4021 ครั้ง)

TricksteR

  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 301
ทาลัสซีเมีย Thalassemia

ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้าง
เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มี
อาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่
ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ
อยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็น
จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากร
ทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัด ๆ มี
ประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรง
มากน้อยแตกต่างกันไป

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า
ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ  ในรายที่เป็นทาลัสซีเมียชนิดอ่อนที่เรียก
ว่า โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ตามปกติจะไม่มีอาการ
ผิดปกติแต่อย่างไร    แต่จะมีอาการซีดเหลืองเป็นครั้งคราวขณะที่เป็นหวัด
เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ แบบเดียวกับโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือด
แดงแตก

สิ่งตรวจพบ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง หน้าแปลก โดยมีสันจมูกแบะ (จมูกแบน) หน้า
ผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่
ห่างกันมากกว่าคนปกติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามงโกลอยด์หรือ หน้า
ทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักจะมีม้ามโตมาก บางรายอาจโตถึงสะดือ (คลำได้ก้อน
แข็งที่ใต้ชายโครงซ้าย) อาการม้ามโต ชาวบ้านอาจเรียกว่า ป้าง หรือ
อุปถัมภ์ม้ามย้อย (จุกกระผามม้ามย้อย)

อาการแทรกซ้อน
ถ้าซีดมาก อาจทำให้มีอาการหอบเหนื่อย บวม และตับโต เนื่องจากหัวใจวาย
บางคนอาจเป็นไข้ เจ็บคอบ่อยจนกลายเป็นโรคหัวใจรูมาติก หรือหน่วยไต
อักเสบ ผู้ป่วยอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี ได้บ่อยกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีสารบิลิรูบิน
จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ    ในรายที่มีชีวิตอยู่ได้นาน
จะมีเหล็ก (ที่ได้จากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง) สะสมในอวัยวะต่าง ๆ
เช่น ที่ผิวหนังทำให้ผิวออกเป็นสีเทาอมเขียว ที่ตับทำให้ตับเข็ง ที่หัวใจทำให้
หัวใจโตและเหนื่อยง่าย เป็นต้น

การรักษา


ข้อแนะนำ
1. ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน และอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง (เช่น ผัก
ใบเขียว เนื้อสัตว์) มาก ๆ เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดง
2. อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบว่า โรคนี้เป็นโรคกรรมพันธุ์ติดตัวไปตลอด
ชีวิต ไม่มีทางรักษาให้หายขาด แต่ถ้าได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องอาจ
มีชีวิตยืนยาวได้ ควรรักษาที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้านเป็นประจำไม่ควร
กระเสือกกระสนย้ายหมอ ย้ายโรงพยาบาล ทำให้หมดเปลืองเงินทองโดย
ใช่เหตุ
3. แนะนำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นทาลัสซีเมียคุมกำเนิด หรือผู้ที่มีประวัติว่ามี
ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ ไม่ควรแต่งงานกัน หรือจำเป็นต้องแต่งงานก็ไม่ควรมี
บุตร เพราะลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคนี้ถึง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25) ทำให้เกิด
ภาวะยุ่งยากในภายหลังได้ ถ้าหากมีการตั้งครรภ์   ในปัจจุบันมีวิธีการเจาะ
เอาน้ำคร่ำมาตรวจดูว่าทารกเป็นโรคนี้หรือไม่ ดังที่เรียกว่า  "การวินิจฉัย
ก่อนคลอด" (Prenatal diagnosis) ถ้าพบว่าผิดปกติ อาจพิจารณาทำแท้ง
4. ในปัจจุบันสามารถใช้วิธีการพิเศษ เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อกรรมพันธุ์ของโรค
นี้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ก่อนแต่งงานควรตรวจดูให้แน่นอน


โรคทาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดพลาดของโครโมโซม
ทำให้ปริมาณ การสร้างโกลบินลด น้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย แต่ความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับ
ลักษณะของความ ผิดปกติ ของยีนบน โครโมโซม

โดยปกติส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดงภายในร่างกายคน คือ ฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสีแดง
องค์ประกอบ ของฮีโมโกลบินประกอบด้วยกรดอะมิโนเรียงตัวกัน 4 เส้น และ 4 เส้นนี้ประกอบด้วย
กรดอะมิโนเส้นแอลฟา 2 เส้น และบีตา 2 เส้น เมื่อเกิดความผิดปกติในการสร้างเส้นกรดอะมิโนดังกล่าว
ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย และมีอายุ น้อยกว่าปกติ (ปกติเม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 120 วัน
สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคธารัสซีเมีย เม็ดเลือดจะมีอายุ ประมาณ50-60 วัน)
ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่เหลือไม่สามารถนำเอา ออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ อย่างเพียงพอ
ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้

ดังนั้นลักษณะของผู้ที่ป่วยที่มีอาการจะมีตัวซีดเหลือง
ถ้าเป็นชนิดรุนแรงจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ รวมไปถึงชนิดที่รุนแรงมากที่สุดอาจจะเสียชีวิตได้
และภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากเม็ดเลือดแดงแตก จะทำให้ ผู้ป่วยมีปริมาณธาตุเหล็กมากกว่าปกติ
ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ จนเป็นอันตรายภายหลัง นอกจากนี้ ผู้ป่วยทาลัสซีเมียชนิดมี
อาการมักจะทำให้อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ (แต่สมองจะพัฒนาไปตามปกติ ไม่มี ปัญหาทางสมอง
หรือปัญญาอ่อน)

จากความปกติของโกลบินทำให้สามารถแบ่งแยกประเภทของโรคทาลัสซีเมียได้ 3 ประเภทหลัก ๆ คือ


แอลฟาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายแอลฟา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย (ชนิดนี้พบมากที่สุดในประเทศไทย)
เบตาทาลัสซีเมีย เป็นโรคธารัสซีเมียที่เกิดจากการสร้างสร้างโกลบินสายบีตา ลดน้อยลง หรือไม่มีการสร้างเลย
แอลฟา-เบตาทาลัสซีเมีย เกิดจากความบกพร่องของเส้นกรดอะมีโนแอลฟาและเบตา
ความรุนแรงของโรคทาลัสซีเมีย
โรคธารัสซีเมียจะมีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ ความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม สามารถจำแนก ความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ

ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อย (Thalassemia Trait)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะเกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซมเพียงข้างเดียว เรียกว่า เฮเทโรซัยกัส ทำให้ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย
แสดงอาการปานกลาง (Thalassimia intermedia)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้ มีอาการทางโลหิตจาง แต่ไม่มากนัก ร่างกายจะเจริญเติบโต ตามปกติ ตับและม้ามโตขึ้น มักจะแสดงอาการ ซีดเหลือง ตาเหลือง เมื่อมีไข้ หรือภาวะที่ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อ ซึ่งจะส่งผลให้เม็ด เลือดแดงแตกมาก
แสดงอาการรุนแรง (Thalassemia Disease)
โรคทาลัสซีเมียชนิดนี้จะแสดงอาการรุนแรงตั้งแต่เด็กและมีการเจริญเติบโตช้า มีการสร้างเม็ดเลือดมากกว่า ปกติเพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายโดยตับและม้าม ทำให้กระดูกขยายตัว ใบหน้าจะเปลี่ยนแปลงอย่าง เห็นได้ชัด มีลักษณะ กระดูกแก้มสูงนูนออกมามาก คิ้วห่างออกจากกัน ที่เรียกว่า mongoloid face ผู้ป่วย ชนิดนี้จะต้องรับเลือดเป็นประจำ ทำให้เกิดภาวะเหล็กเกิน ก่อให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ถ้าสะสมภายที่อวัยวะ ภายในเช่น ตับ เป็นจำนวนมากจะทำให้ตับแข็ง
การดูแลรักษาผู้ป่วย
ผู้ที่เป็นพาหะ จะมีสุขภาพเหมือนกับคนปกติทั่วไป ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ นอกจากควรระวัง
ก่อน การมีบุตร ซึ่งถ้าคู่ครองปกติลูกที่คลอดออกมาจะเป็นพาหะทั้งหมด และถ้าคู่ครองเป็นพาหะ
เหมือนกันลูกที่คลอด มาจะมีโอกาส เป็นโรคธารัสซีเมีย 1 ใน 4 แต่ถ้าคู่ครองเป็นโรค ลูกที่คลอดมา
จะมีโอกาสเป็นโรค 2 ใน 4

ส่วนผู้ที่มีอาการต้องคอยระวังไม่ให้ร่างกาย อ่อนแอหรือมีไข้สูงเพราะจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย
ต้องรับประทาน อาหารที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด และหลีกเลี่ยง อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง และยาเพิ่มเม็ดเลือด
ที่มีธาตุเหล็ก

สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงหมอจะเป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องทำการรักษาให้หายขาดหรือไม่
โดยการรักษาให้หายขาดจะ ทำได้ 2 วิธี คือ การปลูกถ่ายไขสันหลัง และการปลูกถ่ายจากเลือดสายสะดือ
การรักษาจะต้องทำกับผู้ป่วยที่มีอายุ และน้ำหนักน้อย และจะต้องตรวจสอบการต่อต้านเม็ดเลือดขาว
เสียก่อน

การรักษาให้หายขาดจะทำได้แต่ความผิดปกติทางยีนยังคงอยู่เหมือนเดิม และค่ารักษาพยาบาลจะสูงมาก
เบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ 1000,000-400,000 บาท และสถานที่รักษาพยาบาลมีอยู่น้อยมาก จะมีเพียง
โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยเท่านั้นเพราะจะมีเครื่องมือในการสอนนักศึกษา

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
      ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียทั้งที่เป็นโรคและเป็นพาหะจะสามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกหลานได้
ในกรณีที่พ่อหรือแม่เป็นพาหะเพียงคนเดียว โอกาสที่ลูกเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 หรือครึ่งต่อครึ่ง แต่จะไม่มีลูกคนใดเป็นโรค


      ในกรณีที่พ่อและแม่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียทั้งคู่โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 1 ใน 4 โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะปกติเท่ากับ 1 ใน 4

      ในกรณีที่พ่อและแม่ ฝ่ายหนึ่งเป็นโรค และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคเท่ากับ 2 ใน 4 และ โอกาสที่จะเป็นพาหะเท่ากับ 2 ใน 4 โดยลูกไม่มีโอกาสปกติเลย

      ทั้งนี้อัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหรือพาหะในแต่ละครอบครัวจะเท่ากันทุกครั้งของการตั้งครรภ์


เครดิต.http://www.thailabonline.com/sec9thal.htm

loveharry

  • หูไม่ตรงกับตา
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 268
  • ♥ --> Bigbang --> SHINee ♥
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 30 พฤษภาคม 2009, 04:17:41 pm »
เพื่อนเรา เขาก็เป็นอ่ะ โรคนี้  อีกอย่างเขาไม่กินผักด้วย

ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ
Thanks >>>  P♥tterst♥ryweb

dew_16

  • บุคคลทั่วไป
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2009, 08:41:49 am »
โรคนี้น่ากลัวเหมือนกันน่ะ
  :'(
ขอบคุณมากค่ะที่นำมาฝาก :D

pinkky_love

  • เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่
  • นักกีฬาควิดดิชทีมชาติ ตำแหน่งคีปเปอร์
  • **********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1700
  • ทีมนี้..เป็นทีมที่ดีที่สุด! ^o^ คิดถึงริวจังจังเลย
    • sakaguchikenji
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2009, 10:34:41 am »
ขอบคุณที่นำความรู้มาฝากค่ะ

PON EILEEN SNAPE

  • LOVE HARRY POTTER ALWAYS
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 3
  • ********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 605
  • I LOVE SEVERUS SNAPE
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 01 มิถุนายน 2009, 10:37:45 am »
จริงๆค่ะ โรคนี้น่ากลัว มากเลยอ่า

ขอบคุณที่นำมาฝากนะค่ะ  :)

aunza4701

  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 56
  • รักเสมอ เดรโกร มัลฟอย
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 15 มิถุนายน 2009, 11:14:48 am »
ขอบคุณครับ
(โรคเค้าน่ากลัวจริงๆอะ)

De_PaKaPol

  • ผู้วิเศษเลือดบริสุทธิ์
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 205
Re: 30/5/52 โรคทาลัสซีเมีย อันตรายที่มองไม่เห็น
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 23 พฤศจิกายน 2009, 11:14:35 am »
ขอบคุณครับที่นำมาฝาก   :D

 

SMF spam blocked by CleanTalk