ผู้เขียน หัวข้อ: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม  (อ่าน 4461 ครั้ง)

*~iQ-sunG~

  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 05:52:37 am »
 ครบรอบ 61 ปีวันชาติรัฐฉาน เจ้ายอดศึกลั่น ‘ถ้าไม่มี ‘วันชาติรัฐฉาน’ ก็ไม่มี ‘สหภาพพม่า’   
 


เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่หรือ SSA (Shan State Army) จัดงาน ‘วันเชื้อชาติจึ่งไต’ หรือวันชาติรัฐฉาน ปีที่ 61 ที่ฐานทัพของกองกำลัง SSA บนดอยไตแลง ชายแดนรัฐฉาน สหภาพพม่า ตรงข้าม อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โดยมีชาวไทใหญ่ร่วมงานหลายพันคน ทั้งนี้ทาง SSA ได้เชิญตัวแทนชนชาติต่างๆ ในรัฐฉานและสหภาพพม่าร่วมงาน เช่น ผู้แทนพรรคก้าวหน้าแห่งชาติคะยาห์ หรือ KNPP (Karenni National Progressive Party) ผู้แทนชาวคะยาห์, ผู้แทนชาวลาหู่ และผู้แทนชาวปะโอ นอกจากนี้ นายยืนยง โอภากุล หรือ ‘แอ้ด คาราบาว’ ก็ได้รับเชิญร่วมงานด้วย
 
   โดยงานช่วงเช้าของการจัดงานวันชาติ มีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ การแสดงศิลปะการต่อสู้ของทหาร SSA ที่เพิ่งสำเร็จหลักสูตรการฝึก และช่วงกลางคืนมีการแสดงดนตรี และจ้าตไต หรือลิเกไทใหญ่ โดยศิลปินชาวไทใหญ่
   โดยพิธีเปิดช่วงเช้า มีการร้องเพลงชาติไทใหญ่ หลังจากนั้น เจ้าปายเมือง ประธานในพิธีกล่าวถึงความเป็นมาของวันชาติไทใหญ่ และกล่าวว่าถ้าไม่มีการประชุมของเจ้าฟ้าไทใหญ่และผู้แทนประชาชนหารือกันที่ปางโหลง ก็จะไม่มีวันชาติรัฐฉาน ถ้าไม่มีวันชาติรัฐฉานก็ไม่มีวันชาติพม่าและพม่าก็จะไม่มีเอกราช ขอให้ลูกหลานไทใหญ่ทุกคนรับรู้เรื่องสัญญาปางโหลงเอาไว้ อย่าได้หลงลืมงานวันนี้เรามีผู้นำกองกำลังกู้ชาติไทใหญ่และประธานสภาฟื้นฟูรัฐฉานเจ้ายอดศึก มาเป็นผู้นำทหารไทใหญ่ นำประชาชน พระสงฆ์ และนักเรียนทุกคน มาร่วมกันในวันชาติอันเป็นวันดีวันมงคล ขอให้ทุกคนที่มาร่วมงานมีความสุข ได้รับความร่มเย็น ได้รับมงคลในชีวิตทุกคน เจ้าปายเมืองกล่าว

ส่วน พ.อ.เจ้ายอดศึก ผู้บัญชาการกองกำลัง SSA และประธานสภาฟื้นฟูรัฐฉานกล่าวว่า วันนี้เป็นวันดี วันงาม เป็นวันที่ทุกคนมาพบกัน ความเป็นมาของวันชาติไทใหญ่ คนไทใหญ่ที่รู้ก็มี ที่ไม่รู้ก็มี เมื่อเรารู้ความเป็นมาของวันชาติไทใหญ่ หมายความว่าเรารู้ต้นตอของปัญหาแล้ว เราย่อมแก้ปัญหาได้ ถ้าไม่รู้อะไรเลย ย่อมแก้ให้ปัญหาใดๆ ไม่ได้ “ขอให้ประชาชนไทใหญ่อย่าหลงลืมวันชาติของชาวไทใหญ่ ถ้าไม่มีผู้แทนชนชาติในรัฐฉานมาประชุมกันก็ไม่มีวันชาติรัฐฉาน ถ้าไม่มีวันชาติรัฐฉานก็คือไม่มีสัญญาปางโหลง 12 กุมภาพันธ์ปี 1947 ถ้าไม่มีสัญญาปางโหลงก็ไม่มีสหภาพพม่า”

 พ.อ.เจ้ายอดศึก ให้สัมภาษณ์ระหว่างการแถลงข่าวกับผู้สื่อข่าว หลังพิธีฉลองวันชาติรัฐฉานในช่วงเช้าว่า “ปัญหาในสหภาพพม่าทุกวันนี้มีความสลับซับซ้อน ทุกๆ ชนชาติต้องมาร่วมกันแก้ปัญหา โดยยึดข้อตกลงปางโหลง 9 ข้อเป็นแนวทาง”

 นอกจากนี้ กองกำลัง SSA ยังได้จัดงานที่ฐานทัพกองกำลัง SSA ดอยสันจุ๊ ตรงข้าม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ มีเจ้าหาญตุนเครือเป็นประธานในการจัดงาน อีกด้วย

 สำหรับการจัดงานวันชาติรัฐฉานในพม่านั้น สำนักข่าว Mongloi รายงานว่า ในวันที่ 7 ก.พ. ชาวไทใหญ่และชนชาติต่างๆ ในรัฐฉาน ที่พำนักอยู่ในกรุงย่างกุ้ง ได้จัดงาน ‘วันแสดงศิลปะของชนชาติต่างๆ’ ที่วัดเก้าลัก (แปลว่า 9 ไมล์ เพราะวัดแห่งนี้ห่างจากย่างกุ้ง 9 ไมล์) ในกรุงย่างกุ้ง ที่ใช้ชื่อนี้จัดงานแทนการใช้ชื่องานวันชาติ เนื่องจากทางการพม่าไม่อนุญาตให้ชนกลุ่มน้อยจัดงานวันชาติ โดยในงานเป็นการแสดงศิลปะและดนตรี โดยศิลปินชาวไทใหญ่ที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ชายทีแสง นอกจากนี้ยังมีศิลปินชาวพม่าร่วมร้องเพลงด้วย

 ขณะที่มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่า ไม่ยอมให้จัดงานวันชาติรัฐฉาน ในเมืองตองจี เมืองหลวงของรัฐฉาน นอกจากนี้ชนชาติต่างๆ ในรัฐฉานยังได้ร่วมกันจัดงานวันชาติรัฐฉานในประเทศไทย ที่ จ.เชียงใหม่ อีกด้วย โดยมีชนชาติต่างๆ ในรัฐฉาน ตัวแทนจากสภากลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic Nationalities Council - ENC) เครือข่ายปฏิบัติงานสตรีไทใหญ่ โดยมี ขุนโอ้กก่า ผู้นำชนชาติปะโอ กล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันชาติรัฐฉานด้วย

 สำหรับวันชาติรัฐฉานในระหว่างการประชุมของบรรดาเจ้าฟ้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนในรัฐฉานที่เมืองปางโหลง ภาคใต้ของรัฐฉาน เมื่อวันที่ 3 – 12 ก.พ. 2490 โดยในวันที่ 7 ก.พ. ที่ประชุมร่วมกันออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐ

และขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าชาวปะหล่อง ซึ่งปกครองเมืองน้ำสั่น ทางภาคเหนือรัฐฉาน และเป็นประธานสภาสหพันธรัฐฉานขณะนั้นได้กำหนดให้ผืนธงสีเหลือง เขียว แดง และวงกลมสีขาว พร้อมด้วยเพลงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นของชาวรัฐฉานทั้งมวล และชนชาติในรัฐฉานได้ถือเอาวันที่ 7 ก.พ. เป็นวันชาติรัฐฉานพร้อมจัดงานฉลองทุกปีนับแต่นั้นมา

 โดยในรัฐฉานมีความพยายามทั้งในทางการเมืองและการทหารขอแยกตัวออกจากสหภาพพม่ามาอย่างยาวนาน ในวันที่ 21 พ.ค. ปี 2501 เจ้าน้อยซอหยั่นต๊ะ ได้ตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลพม่าในนามกลุ่ม ‘หนุ่มศึกหาญ’ ขึ้นที่อำเภอเมืองหาง เขตเมืองโต๋น ในรัฐฉานตอนใต้ ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน

 โดยปัจจุบันในรัฐฉาน มีกองกำลังที่ต่อต้านรัฐบาลพม่าคือ Shan State Army หรือ SSA นำโดย พ.อ.เจ้ายอดศึก ที่นำทหารจำนวนหนึ่งแยกตัวออกจากขุนส่าและยืนหยัดต่อสู้รัฐบาลพม่า ภายหลังจากที่ขุนส่านำกองทัพเมิงไต หรือ MTA (Mong Tai Army) วางอาวุธแก่รัฐบาลพม่าในเดือนมกราคมปี พ.ศ.2539

 ‘ถอดรหัส’ เจ้ายอดศึก:

ถ้าไม่มี ‘วันชาติรัฐฉาน’ ใยไม่มี ‘สหภาพพม่า’?

 คำพูดของ พ.อ.เจ้ายอดศึก ระหว่างกล่าวสุนทรพจน์วันชาติไทใหญ่ว่า “ถ้าไม่มีวันชาติรัฐฉานก็คือไม่มีสัญญาปางโหลง 12 กุมภาพันธ์ปี 1947 ถ้าไม่มีสัญญาปางโหลงก็ไม่มีสหภาพพม่า” ไม่ได้กล่าวเกินจริงนักเพราะเอกราชของสหภาพพม่า ยึดโยงอยู่ที่การเรียกร้องอิสรภาพของชาวไทใหญ่ ยึดโยงอยู่ที่ชะตากรรมของชาวไทใหญ่

โดยความเป็นมาของ ‘วันชาติเชื้อชาติจึ่งไต’ หรือวันชาติรัฐฉานนั้น เริ่มต้นขึ้น ในระหว่างการประชุมของบรรดาเจ้าฟ้าที่ปกครองหัวเมืองต่างๆ พร้อมด้วยตัวแทนประชาชนในรัฐฉานที่เมืองปางโหลง ภาคใต้ของรัฐฉาน เมื่อวันที่ 3 – 12 กุมภาพันธ์ 2490

การประชุมนั้นต้องการหารือกันถึงการเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ แต่ระหว่างนั้นในวันที่ 7 ก.พ. 2490 อังกฤษได้ส่งโทรสารถึงผู้เข้าร่วมประชุมว่าหากรัฐฉานมีข้อเรียกร้องหรือมีข้อเสนออันใดก็ขอให้จัดการประชุมอย่างเป็นทางการที่เมืองตองจี ที่มีข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษเป็นประธาน

 ด้วยเหตุนี้ ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีการเรียกประชุมฉุกเฉินขึ้นโดยได้ชี้แจงถึงข้อเรียกร้องอังกฤษดังกล่าว ซึ่งทุกฝ่ายต่างไม่เห็นด้วยกับอังกฤษ และได้มีมติร่วมกันว่า “รัฐฉานจะไม่ขออยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกต่อไป” เพราะเห็นว่าไม่มีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง

 พร้อมกันนั้นได้ร่วมกันออกแถลงการณ์จัดตั้งสภาสหพันธรัฐภายในวันนั้น (วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2490) โดยมีตัวแทนเจ้าฟ้า 7 ท่าน และตัวแทนประชาชนอีก 7 ท่าน เป็นผู้ลงนาม

 นอกจากนั้นในวันนี้ ขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าชาวปะหล่อง ซึ่งปกครองเมืองน้ำสั่น ทางภาคเหนือรัฐฉาน และเป็นประธานสภาสหพันธรัฐฉานขณะนั้นได้กำหนดให้ผืนธงสีเหลือง เขียว แดง และวงกลมสีขาว พร้อมด้วยเพลงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นของชาวรัฐฉานทั้งมวล  และชนชาติในรัฐฉานได้ถือเอาวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติรัฐฉานพร้อมจัดงานฉลองทุกปีนับแต่นั้นมา

 โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ประชุมของตัวแทนเจ้าฟ้าไทใหญ่ และผู้แทนประชาชนในรัฐฉานได้ก่อตั้งสภาสหพันธรัฐเทือกเขา (Supreme Council of the United Hill Peoples - SCOUHP) ขึ้น มีสมาชิก 18 คน จากไทใหญ่, คะฉิ่น, ฉิ่น ฝ่ายละ 6 คน ซึ่งสภาสหพันธรัฐเทือกเขานี้เอง ที่ลงนามในสัญญาปางโหลงร่วมกับนายพลอองซาน ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ

 พ.อ.เจ้ายอดศึก บันทึกผ่านบทความ “60 ปีวันชาติรัฐฉาน – 60 ปีสัญญาปางโหลง: ต้นรากปัญหาในพม่า” ในหนังสือ ก่อนตะวันฉาย “ฉาน” ไว้ว่า “ผู้นำรัฐฉานทั้งไทใหญ่ กะฉิ่น ฉิ่น ได้จัดตั้งสหภาพเพื่อขอเอกราชจากอังกฤษและก่อตั้งประเทศของตนมาแต่แรกเริ่ม โดยที่ยังไม่มีฝ่ายพม่าเข้าร่วมตัดสินใจใดๆ ด้วยเลย”

 ซึ่งตัวแทนจากพม่าคือ นายพลออง ซาน พร้อมด้วยผู้แทนจากรัฐบาลอังกฤษ นายบ็อตทอมเลย์ (Bottomley) และผู้แทนจากพรรคแรงงานอังกฤษ นายวิลเลียมส์ (Williams) ในฐานะผู้สังเกตการณ์ ได้เข้าร่วมประชุมกับสภาสหพันธรัฐเทือกเขาในวันที่ 10 ก.พ. แต่มีประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างรุนแรงระหว่างสภาสหพันธรัฐเทือกเขาและนายพลอองซานคือ

 1.ถ้าสภาสหพันธรัฐเทือกเขาร่วมกับพม่าขอเอกราชจากอังกฤษได้เรียบร้อยแล้ว จะมีสิทธิแยกจากพม่าและก่อตั้งประเทศของตนเป็นเอกราชเมื่อใดก็ได้

 2.คะฉิ่นขอแผ่นดินตัวเอง เพื่อตั้งประเทศเป็นเอกราชของตัวเอง

 โดยนายพลออง ซาน ไม่ยอมทั้งสองประเด็นนี้ โดยกล่าวว่ายังไม่ทันได้เอกราชก็อยากจากกันไปแล้ว อย่างนี้ไม่สมควร และเตรียมเดินทางกลับในคือวันที่ 10 กุมภาพันธ์ แต่ผู้แทนประชาชน 7 คนของสภาสหพันธรัฐเทือกเขาขอร้องไม่ให้กลับ โดยการประชุมตกลงกันได้ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ และข้อเรียกร้องที่ถกเถียงกันบางส่วนจะนำไปดำเนินการให้ยุติในการร่างรัฐธรรมนูญจึงมีการลงนามระหว่างนายพลออง ซาน ตัวแทนฝ่ายพม่า กับสภาสหพันธรัฐเทือกเขา ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2490 คือ ‘สัญญาปางโหลง’ ซึ่ง สัญญาปางโหลงนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นของการร่างรัฐธรรมนูญสหภาพพม่าระหว่าง 10 มิถุนายน ถึง 24  กันยายนปีเดียวกันนั้น ทำให้บรรดารัฐต่างๆ ที่รวมกันในสหภาพพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษ ในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491
ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสหภาพพม่า มีเงื่อนไขให้รัฐของชนกลุ่มน้อยใช้ ‘สิทธิแยกตัว’ (Right of Secession) ได้ต่อเมื่อหลัง 10 ปี ที่ได้รับเอกราชหากรัฐของชนชาติต่างๆ ในสหภาพพม่าต้องการแยกตัวเป็นเอกราช ต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกสภาแห่งรัฐนั้นๆ (State of Council) 2 ใน 3 และผู้นำของรัฐนั้นต้องแจ้งให้ผู้นำสูงสุดแห่งสหภาพรับทราบมติ ให้ผู้นำสูงสุดแห่งสหภาพจัดการลงประชามติขึ้นในรัฐนั้น หากได้รับเสียง 2 ใน 3 จึงจะสามารถแยกตัวเป็นเอกราชได้ แต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาลพม่าอีกที และยังไม่ทันที่ นายพลออง ซาน จะได้พิสูจน์คำมั่นสัญญาว่าจะให้เอกราชกับรัฐฉานและรัฐชนชาติต่างๆ หากต้องการแยกตัวออกจากสหภาพพม่า นายพลออง ซานก็เสียชีวิตไปเสียก่อนที่สหภาพพม่าจะได้รับเอกราช โดยเขาเสียชีวิตหลังเหตุการณ์มือปืนบุกกราดยิงระหว่างการประชุมสภาบริหาร (Executive Council) แห่งรัฐบาลชั่วคราวเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2490 จนนายพลออง ซาน และที่ปรึกษาทางบริหารอื่นๆ อีกคน 6 รวมทั้งเจ้าจ๋ามทุนแห่งเมืองป๋อนเสียชีวิต และแม้จะครบ 10 ปีตามหลักเกณฑ์ใช้ ‘สิทธิแยกตัว’ ออกจากสหภาพพม่าแล้ว แต่ผู้นำจากรัฐฉานไม่มีโอกาสได้ใช้ ‘สิทธิแยกตัว’ นั้น ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเลย เพราะสถานการณ์ทางการเมืองทั้งในพม่าและในรัฐฉานก็ประสบกับความยุ่งยาก รัฐบาลสหภาพพม่าไม่ให้อำนาจชนชาติต่างๆ ได้สิทธิการปกครองตัวเองอย่างแท้จริง และมีพยายามขยายอิทธิพล ส่งกำลังทหารเข้าไปในรัฐของชนชาติต่างๆ
กระทั่งในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2505 นายพลเนวินได้ทำรัฐประหารยกเลิกรัฐสภา และยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้ ‘สิทธิแยกตัว’ กับชนกลุ่มน้อย
และการรัฐประหารโดยนายพลเนวินครั้งนั้นเอง ได้นำสหภาพพม่าออกจากเส้นทางประชาธิปไตย จนกระทั่งทุกวันนี้
เช่นเดียวกับที่ชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มในสหภาพพม่าที่หวังจะได้อิสรภาพ ต่างต้องจับปืนสู้ทหารของรัฐบาลพม่า มาอย่างยาวนานนับกึ่งศตวรรษ!

 เรียบเรียงจาก

พันเอกเจ้ายอดศึก, “60 ปีวันชาติรัฐฉาน – 60 ปีสัญญาปางโหลง: ต้นรากปัญหาในพม่า” น.17-24 ใน เจ้ายอดศึก, นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว, นวลแก้ว บูรพวัฒน์, ก่อนตะวันฉาย “ฉาน” (Before sunrise on Shan State), กรุงเทพ: Openbooks, 2550

อัคนี มูลเมฆ (แปล), รัฐฉาน: ประวัติศาสตร์และการปฏิวัติ, [แปลจาก The Government of Tailand Revolutionary Council (TRC), Historical Facts about the Shan State, ไม่ทราบปีที่พิมพ์] กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มติชน, 2548 น.28-39.

คือพอดีอาจารย์ที่โรงเรียน ในทำรายงานเรื่อง ชนกลุ่งน้อยครับ เจอเรื่องนี้หน้าสนใจดี ก็เลยเอามาฝากกัน พยามอ่านให้จบนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 มีนาคม 2009, 06:32:20 pm โดย jung-in potter »

love_Ron

  • ปาร์ค แจบอม ณ ซีแอตเทิล.
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 6
  • *********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1020
  • ~i'm ฟางฟาง คอน~
    • ●  รู้ลึก รู้ดี (เรื่อง) รูเพิร์ต ●
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 07:02:17 am »
ขอบคุณสำหรับเนื้อหาน่ะค่ะ

ฟางว่าน่าสนใจดีน่ะค่ะนั่น :"D


~OrenjI~

  • εїз PSW Together Forever εїз
  • PSWeb's Staff
  • เจ้าหน้าที่กองบังคับควบคุมกฎหมายเวทมนตร์
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 6700
  • .:: ชางโจ ... ช่างจน ::.
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 08:19:48 am »
งั้นก็ต้องบอกว่าขอร่วมระลึกถึงวันชาติรัฐฉานในฐานะของพลเมืองโลกด้วยเหมือนกัน
ขอบคุณที่นำมาฝากน่ะค่ะ  บทความยาวได้อีกและยากในการคอมเมนท์ได้อีก


:  <กติกาการใช้บอร์ด PSWeb's>  : :  <CREDIT>  : :  <HOTLINK>  :
:   <Hogwarts School>   : :  <Signature & Photo>  : :  <HP>  : :  <PM>  :
  ~ คำคมลุง : ถ้าคุณไม่ชอบผมหรือสิ่งที่ผมทำ ก็ไม่ต้องมาดูการแสดงของผมหรือเข้าเว็บไซต์ของผม ~

SinX_ZeRo

  • I'M SO ALONE.
  • ผู้วิเศษเลือดบริสุทธิ์
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 232
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 08:21:06 am »
ขอบคุณที่นำมาฝากครับ เนื้อหา มีสาระมาก เป็นความรู้รอบตัวได้เลย นะเนี่ย

kalberos

  • มักเกิ้ล
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 23
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2009, 01:47:43 pm »
ขอบคุณครับที่นำมาฝาก

~风风~

  • ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ชีวิตนี้ก็ยังไม่สิ้นหวัง(เเต่ก็ไม่อยากจะหวังอะไรอีกเเล้ว)
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 6
  • *********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1006
  • เเละเเล้วก็ถึงวันนี้ ...จนได้สิน่ะ
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 01 มีนาคม 2009, 08:15:45 am »
ขอบคุณค่ะ ถือว่าได้ความรู้ไปเยอะเลยทีเดียวค่ะ
วันเเบบนี้เพิ่งจะเคยรู้^^

winny

  • บุคคลทั่วไป
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 01 มีนาคม 2009, 03:46:22 pm »
ขอบคุณสำหรับข่างสารดีๆนะค่ะ :-*

แฮร์รี่ พอตเตอร์

  • อยากเรียนจบเร็วๆจัง
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 01 มีนาคม 2009, 03:55:39 pm »
เนื้อหาก็โอเคนะครับ ถึงแม้จะต้องอ่านเยอะไปหน่อย
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านกันนะครับ
แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์

mymun_vinsent

  • ^vampires vampiers vampiers^
  • PSWeb's Staff
  • เจ้าหน้าที่กองปริศนา
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7309
  • อุรินึน ชินฮวาชางโจ อิมนีดะ
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 02 มีนาคม 2009, 10:40:15 am »
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีรัฐฉานอยู่ด้วย
แต่จะว่าไปพ่อเลี่ยงพี่ก็เป็นคนเชื้อสายไทใหญ่เหมือนกันนะคะ
เคยได้ยินพ่อบอกแบบนั้น เพราะพ่อเป็นคนภาคอิสานที่จมูกโด่งและค่อนข้างสูงเลยทีเดียว


ขอบคุณสำหรับบทข้อมูลค่ะ
คำป๋า :: เข้มแข็งในเวลาที่ควรจะเข้มแข็งและเปี่ยมไปด้วยพลัง และโอนอ่อนในเวลาที่ควรจะโอนอ่อน


Create by ~Chicken_regeR~

εΐз •Littlepig_lovely• εΐз

  • Staff - T
  • มือปราบมารมืออาชีพ
  • *
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 3844
  • >> Lee Min Ho
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 03 มีนาคม 2009, 11:22:07 am »
ข้อมูลเยอะมาก  ขอบคุณนะคะที่นำมาฝากกัน    ;D

• BOY OVER FLOVER •


TAICEW POOHPIGLET

pinkky_love

  • เพื่อประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่
  • นักกีฬาควิดดิชทีมชาติ ตำแหน่งคีปเปอร์
  • **********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1700
  • ทีมนี้..เป็นทีมที่ดีที่สุด! ^o^ คิดถึงริวจังจังเลย
    • sakaguchikenji
Re: 28/02/2009ว่ากันว่าวันที่โลกไม่มีวันลืม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 05 มีนาคม 2009, 04:49:13 am »
ขอบคุณที่นำมาฝากค่ะ

 

SMF spam blocked by CleanTalk