« เมื่อ: 07 สิงหาคม 2010, 04:11:06 pm »
[hide]
โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
ปาร์ค ยองฮา นักแสดงและนักร้องวัย 32 ปี กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากท่ามกลางกระแสกิมจิ หรือ โคเรียนเวฟ ที่ถาโถมอุตสาหกรรมบันเทิงเอเชีย
ชื่อเสียงของเขาโด่งดังพร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง Winter Sonata ที่ออกฉายเมื่อปี 2545
และกำลังจะมีผลงานใหม่เรื่อง Love Song ทั้งยังมีคิวแสดงคอนเสิร์ตที่ญี่ปุ่นปลายเดือนนี้ปาร์ค ยองฮาแต่เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดาราหนุ่มผู้ดูเหมือนมีทุกอย่างเพียบพร้อมก็กลายเป็นศพในอพาร์ตเมนต์ โดยชัดเจนว่าเขาฆ่าตัวตาย
การเสียชีวิตของดาราหนุ่มทำให้แฟนทั่วโลกช็อค และนับเป็นคนดังรายล่าสุดที่ปลิดชีพตัวเอง
โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2551 ชอยจินซิล ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ดาราสาวของประเทศ ก็แขวนคอตายขณะมีอายุเพียง 29
ก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน อัน แจฮวาน นักแสดงและดาราตลกวัย 36 เสียชีวิตในรถยนต์และชัดเจนว่าฆ่าตัวตาย
และเมื่อปี 2548 ลี อุนจู นักแสดงและนางแบบสาววัย 24 ก็ปลิดชีพตัวเองลี อุนจู หากหันไปมองนอกวงการบันเทิง ก็มีอดีตประธานาธิบดีโรห์ มูยุน ที่กระโดดหน้าผาตายเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
ขณะที่ ปาร์ค ยองโอ อดีตประธานดูซาน กรุ๊ป บริษัทเครือเก่าแก่ที่สุดของเกาหลีใต้ ปลิดชีพตัวเองเมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน
เหตุผลที่ทำให้คนดังพากันปลิดชีพมีแตกต่างกัน อย่างรายของดาราหนุ่มปาร์คนั้น สื่อรายงานว่าหดหู่กับการที่บิดาเป็นมะเร็ง
ขณะที่อดีตประธานาธิบดีโรห์ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชัน แต่สภาพการณ์นี้ก็สะท้อนปัญหาในวงกว้างของแดนโสมขาว
โดยเมื่อปีที่แล้ว เกาหลีใต้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในบรรดา 31 ประเทศมั่งคั่งในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี)
ด้วยจำนวนผู้ฆ่าตัวตายประมาณ 22 คนจาก 100,000 คน
โออีซีดีตั้งข้อสังเกตด้วยว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งที่ในชาติอื่นของโออีซีดีมีอัตราลดลง เช่น อัตราฆ่าตัวตายในหมู่ผู้ชายเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าระหว่างปี 2533-2549
โออีซีดีชี้ว่าสาเหตุที่ทำให้การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มาจากความเป็นกลุ่มก้อนในสังคมและประเพณีดั้งเดิมของการสนับสนุนกันในครอบครัวลดลง
ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ศาสตราจารย์ลี มินซู ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกาหลี สนับสนุนแนวคิดนี้และมองว่าการฆ่าตัวตายสูง เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ที่มาพร้อมการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และวัฒนธรรมไม่สามารถปรับตัวตามได้ทัน
เมื่อทศวรรษ 60 สังคมโสมขาวยังคุ้นเคยกับประเพณีดั้งเดิมในชนบท ซึ่งคน 3 ชั่วอายุคนมักอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวอยู่ในระดับเดียวกับประเทศยากจนทั้งหลายในเอเชีย
แต่นับจากนั้นเกาหลีใต้ก็มีเสรีภาพทางการเมืองและการค้า รวมถึงความเป็นอุตสาหกรรมไฮเทค จนทำให้โสมขาวเป็นหนึ่งในประเทศมั่งคั่งที่สุดในโลก
แต่ขณะที่ มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ถาโถมประเทศให้มีความร่ำรวยมากขึ้น
โครงสร้างดั้งเดิมทางสังคมก็แตกสลายลง ส่งผลให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ราคาบ้านสูงขึ้น ระบบจ้างงานตลอดชีพหายไป
มีการแข่งขันหางานกันอย่างดุเดือด และมีคนติดแอลกอฮอล์มากขึ้น
รัฐบาลรายงานอัตราหย่าร้างเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าช่วงปี 2532-2552
ขณะที่ขนาดครัวเรือนลดลงอย่างรวดเร็วจากที่เคยอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในหลังคาเดียวกัน ก็เหลืออยู่แค่ 3 คนในหลังคาเดียวกัน
นี่เป็นสิ่งที่เราต้องเสียไปสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบไม่ยั่งยืน ศาสตราจารย์ลีระบุ
อิทธิพลจากฮั่น
ขณะที่ ศาสตราจารย์วาง ซันมิน แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยยอนไซ กล่าวว่าปัญหายังเกี่ยวโยงไปถึงแนวคิดแบบ ฮั่น ของเกาหลีใต้
ที่เชื่อมโยงถึงอารมณ์อัดอั้นและการหาทางออกไม่ได้ยามเผชิญสถานการณ์ยากลำบาก ฮั่นฝังลึกในสังคมอย่างมากและเชื่อมโยงกับความหดหู่
โดยเมื่อสถานการณ์เลวร้ายและคนไม่สามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้ ก็มักรู้สึกอัดอั้น ยอมแพ้ และหาทางออกแบบสุดขั้ว
คัง โดยุน แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยการแพทย์โซล ชี้ว่าปัจจัยทั้งหลายแหล่อาจรุนแรงมากขึ้นในหมู่คนดัง
ซึ่งมักตกเป็นเป้าสายตาสาธารณชนตลอดเวลาและพบว่าเป็นการยากมากที่จะซ่อนอารมณ์ความรู้สึก
ขณะที่ปัญหาของพวกเขาถูกขุดคุ้ยออกมารายงานตามสื่อต่างๆ ให้ทราบกันทั่ว
คังยังชี้ถึงการตีข่าวการฆ่าตัวตายของคนดัง ว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราการปลิดชีพสูง
แม้เป็นการยากที่จะเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้าด้วยกัน แต่ศาสตราจารย์ลีชี้ว่าการรายงานข่าวคนฆ่าตัวตายอย่างละเอียด เป็นสิ่งที่น่าวิตก
ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า
การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 สำหรับชาวเกาหลี รองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคลมปัจจุบัน
สมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายจึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรณรงค์ให้คนตระหนักถึงปัญหานี้
และดำเนินความพยายามแก้ปัญหา แม้ยูน แดฮุน ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอกของสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตาย ระบุว่าปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขอย่างง่ายๆ ก็ตาม
เรากำลังพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ยังต้องทำอีกหลายสิ่ง สังคมเกาหลีใต้ต้องเปลี่ยนแปลงที่แก่น ยูนระบุ
การเคลื่อนไหวเมื่อเร็วๆ นี้ของทางสมาคมคือการร่วมมือกับตำรวจ และกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อระดมอาสาสมัครหลายร้อยคนทำหน้าที่ติดตามบอร์ดแสดงความเห็นตามเวบไซต์ต่างๆ รวมถึงเวบเกี่ยวเนื่องกับการฆ่าตัวตาย
การวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก
แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงการสื่อสารที่ดีเสมอไป เพราะนักสังคมวิทยาบางคนชี้ว่าวัยรุ่นเกาหลีใต้โดดเดี่ยวมากขึ้น เพราะมีปฏิสัมพันธ์เบื้องต้นทางระบบออนไลน์นั่นเอง
แถมบางครั้งยังใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด อย่างการรวมตัวกันทางออนไลน์เพื่อพูดถึงวิธีฆ่าตัวตาย
(หมายเหตุ : เรียบเรียงจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล)ข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com + popcornfor2บทความนี้ระบุอยู่ในหัวข้อข่าวทั่วไป และคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราน่าจะรับรู้กันเอาไว้บ้าง
เพราะมันเป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวมากๆ ในปัจจุบัน ... เลยเอามาอยู่ในห้องนี้แทนน่ะค่ะ
การฆ่าตัวตายมันมาจากหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นว่าต้องเครียดมาก หาทางออกไม่ได้แล้วฆ่าตัวตายเท่านั้น
แค่คุณเครียดเป็นปกติแต่มีปัจจัยด้านอื่นประกอบ เช่น สภาพอากาศ ... ก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวจนอยากฆ่าตัวตายได้เช่นกัน
จากประสบการณ์ส่วนตัว
พี่ว่า "การคุยกับตัวเอง, การร้องไห้" เป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาได้ทางนึง
อย่างในบทความที่กล่าวในปัจจุบันเราใช้ชีวิตกับอินเตอร์เน็ทมากขึ้น
เราคุยกับคนอื่นน้อยลง ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่าน้อยลง
มันส่งผลทำให้เวลาเกิดปัญหา เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีเท่าที่ควร
สำหรับมุมมองเกี่ยวข้องกับบทความนั้น
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าคนเกาหลีจะเหมือนกับคนไทยตรงที่
"ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริง ต้องการฮีโร่ (ที่ไม่ใช่คนปกติ) เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
มากกว่าที่จะสอนว่ามนุษย์มีทั้งข้อดี - และข้อเสีย, และขี้อิจฉา"
แต่สังคมไทยก็มีข้อดีตรงที่รู้จักประนีประนอม อะลุ่มอล่วย
หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง ก็ทำเป็นไม่รู้เห็นซ่ะ ... แต่มันก็ทำให้เราดูเหลาะแหละ
ซึ่งผู้คนในหลายประเทศบอกว่าคนไทยขี้เกียจนั้นแหละ 5 5 5 +
ในทางกลับกันข้อดีของคนเกาหลี คือ เป็นจริงจัง, เคร่งครัด, ไม่ยอมแพ้
มันก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น การฆ่าตัวตายจึงเป็นทางออกที่ดีกว่า
อย่างน้อยก็ดีกว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อให้ผู้คนประณามไปตลอดชีวิต
ยกตัวอย่างกรณีของคุณชอยจินซิล ที่ผู้เรียกเธอว่า "ดาราสาวของประเทศ" แท้ๆ
แต่เมื่อผู้คนทราบเธออาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุของการตายอัน แจฮวาน
จากดาราที่ผู้คนชื่นชอบกลายเป็นดาราที่ผู้คนพร้อมใจกันประณามในชั่วข้ามคืน
จนเธอไม่สามารถแบกรับสภาพต่อไปได้ จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด[/hide]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 พฤศจิกายน 2010, 07:47:23 am โดย ~OrenjI~ »
บันทึกการเข้า