เรื่องจริง 6 ประการที่เกิดขึ้นทั่วโลก
--------------------------------------------------------------------------------
ทุกวันที่ 22 เมษายน โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เป็น วันคุ้มครองโลก ..มาดูสถิติน่าสนใจ เพื่อร่วมเยียวยาโลกใบนี้
เรื่องจริง 6 ประการที่เกิดขึ้นทั่วโลก
1. ปี 2030 จะไม่มีธารน้ำแข็งเหลืออยู่ ตามคำทำนายในการสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (Source: U.S. Geological Survey)
2. 80 เปอร์เซ็นต์ของป่าที่คลุมอยู่ดั้งเดิมบนโลกทั้งหมดจะถูกทำลาย (Source: United Nations Environmental Program)
3. ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิบนพื้นผิวโลกจะเพิ่มขึ้น 1.2-1.4 องศาฟาเรนไฮน์ ใน 100 ปี 8 อันดับของปีที่ร้อนที่สุด ที่เริ่มนับตั้งแต่ปี 1890 เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1998 -2005 ซึ่ง ปี2005 เป็นปีที่ร้อนที่สุด (Source: Environmental Protection Agency)
4. IPCC ประมาณการว่าระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอยู่ที่ระหว่าง 0.18-0.59 เมตร ในศตวรรษหน้า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 0.59 เมตร จะท่วมพื้นดินกว่าหนึ่งหมื่นตารางไมล์ (Source: Intergovernmental Panel on Climate Change)
5. การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วในหลากหลายสายพันธุ์ที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าอัตราการสูญพันธุ์จะสูงขึ้นกว่าปกติ *1,000 ถึง 10,000 เท่า (Source: World Wildlife Fund) *อ้างอิงจากข้อมูลพื้นฐาน ที่คาดคะเนจากปัจจัยแวดล้อมที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่
6. ทะเลจะปกคลุม ถึง 71เปอร์เซ็นต์ ของพื้นผิวโลก ซึ่งมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์ สำหรับพื้นที่ที่ใช้ในการดำรงชีวิต(Source: World Wildlife Fund)
เรื่องจริง 7 ประการที่เกิดกับน้ำและอาหาร
1. กว่า 220 ตารางฟุต (20 ตารางเมตร) ของป่าฝนถูกทำลายเพื่อสร้างแฮมเบอร์เกอร์เพียงหนึ่งปอนด์ (45 กิโลกรัม) (Source: Greenpeace)
2. ภายในหนึ่งปี คนที่ดื่มกาแฟวันละสองแก้วจะบริโภคต้นกาแฟกว่า 18 ต้นในฤดูเพาะปลูก (Source: Hillside Coffee Company)
3. ถ้าทุกครัวเรือนในสหราชอาณาจักร ใช้เครื่องล้างจานแทนการล้างด้วยมือ จะสามารถประหยัดน้ำได้มากกว่า 250 ล้านลิตร (Source: Friends of earth)
4. การรั่วของท่อประปาเพียง 10 หยดต่อนาที จะทำให้สูญเสียน้ำกว่า 3,000 ลิตรในแต่ละปี (Source: The Government Environmental Protection Department of Hong Kong)
5. ในทุก 20 ปี อัตราการใช้น้ำทั่วโลก และอัตราการเติบโตของประชากรจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า (Source: 50 Simple Things)
6. จำนวนอลูมิเนียมที่คนอเมริกันทิ้งในทุกๆ สามเดือนจะสามารถนำไปสร้างกองเครื่องบินพาณิชย์ขึ้นใหม่ได้ (Source: Environmental Defense Fund)
7. น้ำที่ระเหยไปจากสระน้ำที่ไม่มีการปิด (uncovered) ภายในหนึ่งปีจะมีจำนวนถึง 7,000 แกลลอน (26,498 ลิตร) ซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ถึง 29 ปี (Source: Green living tips)
เรื่องจริง 6 ประการที่เกิดกับพลังงาน
1. พลังงานจากแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับใน 1 ชั่วโมง โลกสามารถใช้ได้นานกว่าหนึ่งปี (Source: Solarbuzz - World Solar Energy)
2. ถ้าปล่อยให้แสงธรรมชาติลอดผ่านเข้ามาในบ้าน คุณจะสามารถลดใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 15% ของอัตราการใช้ไฟฟ้าในบ้าน (Source: NBC)
3. คุณสามารถสร้างกระป๋องอลูมิเนียมรีไซเคิล ได้ถึง 20 กระป๋อง ด้วยพลังงานที่เท่ากันในการสร้างกระป๋องอลูมิเนียมใหม่จากแร่ bauxite (Source: Community Recycling, Belington, Washington)
4. การใช้ไมโครเวฟและอุปกรณ์ประเภทslow cookers จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจำพวกพลังงานเชื้อเพลิงได้มากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ (Source: Hong Kong Environmental Protection Department)
5. กระดาษ1ตันที่ทำจากเส้นใยรีไซเคิลสามารถประหยัดน้ำได้ถึง 7,000 แกลลอน (26,498 ลิตร) , ต้นไม้31ต้น , พลังงานไฟฟ้ากว่า 4,000 กิโลวัตต์ และ ลดมลพิษทางอากาศได้ถึง 60 ปอนด์ (Source: U.S. Department of Energy )
6. ต้องใช้ถ่านกว่า 1,000 ปอนด์ หรือ น้ำมัน 100 แกลลอน (378 ลิตร) ถึงจะเพียงพอที่จะสร้างไฟฟ้า 150 วัตต์ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ที่ถูกเปิดทิ้งไว้อย่างต่อเนื่องหนึ่งปี (Source: Planning for Higher Education Journal, 2003)
เรื่องจริง 9 ประการที่เกิดกับระบบการขนส่งเดินทาง
1. การผลิตกระป๋องอลูมิเนียมในแต่ละปี ใช้พลังงานเท่ากับน้ำมัน 16 ล้านบาร์เรล - ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ของรถยนตร์ของสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปี (Source: Container Recycling Institute, 2001)
2. ต้นไม้ 1 ต้น ลดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่ได้จากการขับรถ 26,000 ไมล์ (41,843 กิโลเมตร) (Source: Alliance for community trees)
3. จอดรถไว้ที่บ้าน 2 วันต่อสัปดาห์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ปีละ 1,500 ปอนด์ (Source: U.S. environmental protection agency)
4. ขับรถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แทนที่จะขับ 112 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยประหยัดน้ำมันได้สูงสุดถึง 6 กิโลเมตรต่อลิตร (Source: HowStuffWorks)
5. การเบรกและเหยียบคันเร่งอย่างรุนแรง ใช้พลังงานมากกกว่าปกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และ เท่ากับเร่งให้เครื่องยนต์สึกหรอเร็วมากขึ้น (Source: Environmental Transport Association)
6. รถครอบครัวใช้น้ำมันราวๆ ปีละ 15,000 ไมล์ (24,140 กิโลเมตร) ซึ่งก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 5.8 ตัน คิดเป็นค่าน้ำมันราวๆ 2,500 ดอลลาร์ (Source: National Geographic)
7. การใช้จักรยานแทนการขับรถ ด้วยระยะทาง 12 ไมล์ (19.3 กิโลเมตร) อาทิตย์ละ 1 ครั้ง ช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ครึ่งตัน (Source: National Geographic)
8. ต้องใช้ต้นไม้ขนาดกลางประมาณ 35 ต้นถึงจะชดเชยปริมาณการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศที่เกิดจากการวิ่งราวๆ 15,000 ไมล์ (24,140 กิโลเมตร) ของรถอเนกประสงค์ ในแต่ละปี (Source: National Geographic)
9. ขับรถอเนกประสงค์เพียง 1 ปี สูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าเปิดทีวีทิ้งไว้ 28 ปี หรือ เปิดตู้เย็นค้างไว้ 6 ปี (Source: National Geographic)
เรื่องจริง 9 ประการที่เกิดขึ้นกับการดำรงชีวิต
1. โดยเฉลี่ย แต่ละบ้านจะมี สารเคมีมีพิษราวๆ 62 ชนิด ซึ่งมากกว่าที่มีในแล็บเคมีเมื่อ 100 ที่แล้ว (Source: Helium)
2. ถ้าธุรกิจทำแคตตาล็อก (รายการแสดงสินค้า) ทั่วสหรัฐ เปลี่ยนมาใช้กระดาษรีไซเคิลเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยลดการใช้ไม้ ได้ปริมาณที่ถ้าเป็นรั้วสูง 5 ฟุต ก็จะวางพาดขวางสหรัฐอเมริกาได้ถึง 7 รอบเลย . (Source: Worldwatch Institute, 2004)
3. ต้นไม้ 1 ต้น ผลิตออกซิเจนให้โลกได้เกือบ 260 ปอนด์ต่อปี และ ในแต่ละปี ต้นไม้ 1 เอเคอร์ ผลิตออกซิเจนให้คน 18 คนใช้หายใจ (Source: Arbor Day Foundation)
4. ถ้าสมาชิกในครัวเรือนทุกคนในสหรัฐ ลองเปลี่ยนมาใช้กระดาษชำระแผ่นแบบรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ แทน กระดาษชำระแบบเส้นใยไฟเบอร์ เราจะประหยัด ต้นไม้ได้ถึง 1.4 ล้านต้น, พื้นที่ปลูก 3.7 ล้านตารางฟุต และ น้ำ 526 ล้านแกลลอน และ ช่วยปกป้องมลพิษได้ถึง 89,400 ปอนด์ (Source: National Zoological Park)
5. รู้หรือไม่ว่า ต้องใช้เวลาถึง 10 ปี กว่า ก้นบุหรี่ 1 ก้น จะย่อยสลายไปได้ (Source: National Zoological Park)
6. ทุกๆ ปี ชาวอเมริกันจะทิ้งกระดาษทั้งที่ใช้เขียนและใช้งานในออฟฟิศ ในปริมาณที่ก่อเป็นกำแพงสูง 12 ฟุต ยาวจากลอสแอนเจลิสไปถึงนิวยอร์คได้เลย (Source: National Zoological Park)
7. นิวยอร์คไทมส์ฉบับวันอาทิตย์ จะต้องใช้ต้นไม้ในการผลิตประมาณ 75,000 ต้น (Source: Residential Environmental Design)
8. ถ้าเรานำเอาหนังสือพิมพ์ที่อ่านมารีไซเคิลสัก 25 เปอร์เซ็นต์ เราจะประหยัดการใช้ต้นไม้ได้เกือบ 70,000 ต้นต่อวัน (Source: Residential Environmental Design)
9. เราได้ทำลายป่าในเขตศูนย์สูตรไปแล้วครึ่งหนึ่ง และตอนนั้น อัตราส่วนการทำลายยังคงอยู่ที่ 95 เอเคอร์ต่อนาที และ ถ้าเป็นไปในสูตรนี้ ปี 2050 ป่าศูนย์สูตรและดิบชื้นก็จะหมดไป (Source: Earth Care Paper Company)
เรื่องจริง 11 ประการที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจ
1. ถ้าพนักงานออฟฟิศ 7,000 ชีวิต รีไซเคิลกระดาษเก่ากลับมาใช้ใหม่ จะเท่ากับ การเอารถออกไปจากถนน 400 คัน (Source: howstuffworks)
2. โดยเฉลี่ย โรงเรียนสีเขียวจะประหยัดค่าใช้จ่ายราวๆ 100,000 ดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการจ้างครูใหม่ได้ 2 คน, ซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ได้ 200 เครื่อง หรือซื้อตำราเรียนดีได้อีก 5,000 เล่ม (Source: 50 Simple Things)
3. การปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ไว้เมื่อไม่ได้ใช้เกินกว่า 15 นาที จะช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่าปกติ 50 เปอร์เซ็นต์ (Source: Australian government)
4. นำน้ำมันเก่ากลับมาใช้ใหม่ ประหยัดน้ำมันได้ถึง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันสำหรับชาวอเมริกัน (Source: Mississippi Department of Environmental Quality)
5. รีไซเคิลกระป๋องอลูมิเนียมเก่า กลับมาใช้ใหม่ ช่วยประหยัดพลังงานได้มากเท่ากับที่ใช้ในการดูทีวี 3 ชั่วโมง (Source: LifeTips)
6. ปริมาณถ้วยโฟมที่ชาวอเมริกันใช้ในแต่ละปี สามารถเอามาเรียงล้อมรอบโลกได้ถึง 436 รอบ (Source: LifeTips)
7. คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงาน กินค่าไฟปีละ 1 พันล้านดอลลาร์ (Source: Sierra Club)
8. โดยเฉลี่ย พนักงานออฟฟิศในสหรัฐอเมริกา ใช้กระดาษราว ๆ 10,000 แผ่นต่อปี (Source: Sierra Club)
9. การดับเครื่องรถไว้แล้วค่อยมาสตาร์ทใหม่ กินน้ำมันน้อยกว่าติดเครื่องค้างไว้ไม่กี่นาที (Source: University of Colorado Environmental Center)
10. ถ้าชาวอเมริกันหมั่นเช็คลมยางเสมอ จะช่วยลดการใช้น้ำมันได้ถึง 2 พันล้านแกลลอนต่อปี และ ยังจะช่วยยืดอายุยางไปได้อีก 3-7 เปอร์เซ็นต์ (Source: University of Colorado Environmental Center)
11. ถ้าแต่ละวัน รถทุกคันบรรทุกผู้โดยสารมากกว่า 1 คน จะช่วยประหยัดน้ำมันได้ถึง 32 ล้านแกลลอนต่อวัน (Source: Natural Resources Defense Council)
หมายเหตุ : ข้อมูลชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการ Going Green: Your Green World ออกอากาศทางช่อง CNN ในวันเเสาร์ที่ 25 เมษายน เวลา 19.00 น. อาทิตย์ที่ 26 เมษายน เวลา 07.00 น.และ 27 เมษายน เวลา 01.00 น.
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้ที่
www.cnn.com/goinggreen ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
__________________