Blog and Ethicby
Maneechan@exteenถ้าจะพูดถึงคำว่า Blog ก็ควรจะทราบการพัฒนาการของคำคำนี้ก่อนว่า มีความเป็นมาอย่างไร เอาละนะจะเล่าแล้ว
ในวงการคอมพิวเตอร์มักจะใช้คำว่า log ในความหมายของการเก็บบันทึกรายการต่างๆ ที่เราได้กระทำบนระบบคอมพิวเตอร์
(A record of transactions or activities that take place on a computer system) แต่ถ้าเป็นภาษาทางคณิตศาสตร์คำว่า log
มาจากคำว่า logarithm หมายถึงวิธีการคำนวณ เช่น การคำนวณตัวเลขยกกำลังในเลขฐาน 10 นั้น logarithm ของ 16 คือ 1.2041
เพราะ 101.2041 จะประมาณเท่ากับ 16
หลังจากมีการเก็บบันทึกข้อมูลการทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์ไว้แล้ว ซึ่งเรียกกันว่า การ log file
ต่อมามีการพัฒนาการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่างๆ มีการใช้อินเทอร์เน็ต
มีการพูดคุยกันผ่านไปรษณีย์อิเล็คทรอนิกส์หรืออีเมล์ (e-mail) ซึ่งเป็นการคุยกันเหมือนเขียนจดหมายใส่ซองปิดแสตมป์ส่งไปรษณีย์
จดหมายทั้งของผู้รับและผู้ส่งก็จะไปกองอยู่ในตู้จดหมาย (mailbox) รอให้เจ้าของจดหมายมาเปิดอ่าน
ก็พัฒนาเป็นการคุยกันผ่านกระดานเว็บบอร์ด (Web board) มีการตั้งกระทู้ถามตอบ เห็นคำถามคำตอบกันบนเว็บเพจนั้นๆ
แต่ต่างเวลากัน ต่อมาก็คุยกันสดๆ ดีกว่า ด้วยโปรแกรมแชต (Chat) ต่างๆ เช่น ICQ (I seek you) หรือ PIRCH
และที่ยอดนิยมที่ใครไม่ใช้เป็นเอาต์
(out แปลว่า ไม่ทันเพื่อนแน่ๆ) คือ MSN Messenger ของ Microsoft
(อะไรอะไรก็ไมโครซอฟต์ อีกแล้ว...) เป็นการโต้ตอบกันอย่างทันควันแบบบัดเดี๋ยวนั้นทันที
(จนไม่เป็นอันทำงาน หากเราเปิด MSN onlineไว้ ขณะทำงาน ..... จริงหรือเปล่า...สาวก! ) แม้ MSN จะสามารถตอบสนองความต้องการของสาวกได้อย่างชนิดที่อาจเรียกได้ว่า เป็นวัฒนธรรมชั่วขณะจิต (Nanosecond Culture) ก็ตาม
แต่ข้อความก็เป็นเพียงแค่การคุยกันสั้นๆ ไปมา
แต่เมื่อสาวกของเราล้วนเยี่ยมยุทธ์ในยุทธจักรออนไลน์ ไฉนเลยจะทนอยู่ได้ จำเป็นต้องเก็บบันทึกเรื่องราวดีๆ
ความทรงจำของตัวเอง หรือการถ่ายทอดความรู้ จึงต้องการอาณาจักรบนโลกไซต์เบอร์ จึงกลายมาเป็นสมุดบันทึกออนไลน์
หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า ไดอารี่ออนไลน์
(แต่จริงๆ แล้วมีนัยมากกว่าการเป็นเพียงไดอารี่) ที่เรียกกันแบบย่อๆ ว่า Blog
มาจากศัพท์คำว่า Web + log บางคนอ่านว่า We Blog แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น มีความหมายเดียวกันนั่นคือ บล็อก (Blog)
ที่เปิดกว้างให้ใครๆ สามารถเขียนหรือเปิดอ่านเรื่องราวของเราได้
เว็บล็อกกับเว็บบอร์ดต่างกันอย่างไร?ดูเผินๆ แล้วทั้งเว็บล็อกกับเว็บบอร์ดนั้นคล้ายกันมาก เว็บบอร์ด ตามความคุ้นเคยของผู้เขียนเห็นว่า
เว็บบอร์ด เป็นเพียงกระดานดำส่วนกลางที่วางไว้หน้าห้องใครเดินผ่านไปผ่านมา ก็แวะมาตั้งกระทู้ให้คนอ่าน หรือ
เชื้อเชิญให้แสดงความเห็น หรือตั้งคำถามทิ้งไว้ เป็นข้อความสั้นๆแล้วคนก็เข้ามาช่วยกันตอบ คุณเชื่อมั้ยว่า
กาลครั้งหนึ่งสมัยที่ผู้เขียนเรียนหนังสือด้านคอมพิวเตอร์อยู่นั้นมีปัญหาต้องส่งงานอาจารย์ ก็ไปเขียนกระทู้ทิ้งไว้
ไม่นานนักสาวกไอทีก็ช่วยกันตอบมามากมาย ทำให้สามารถส่งงานอาจารย์ได้ทันเวลาทีเดียว ก็คือมีการแสดง
ความเห็นต่อๆ กันไปเรื่อยๆ หามีใครเป็นเจ้าของกระดานแผ่นนี้ไม่ (ขอยืมสำนวนจากภาพยนตร์เรื่องนเรศวร
มาใช้)หากแต่เว็บล็อกนั้น มีแต่เราเท่านั้นที่เป็นผู้ครอบครอง หามีผู้อื่นครอบครองได้ไม่ เราเป็นผู้กำหนด
เนื้อหา (content) ของเราเองว่าจะเขียนเรื่องใด ผู้อื่นเป็นเพียงผู้แวะเวียนมาอ่านเรื่องราวที่เราสร้างสรรค์ไว้ใน
ห้องของเรา แล้วเขียนคอมเมนต์แสดงความเห็นต่อท้ายไว้บนกระดานเว็บบอร์ดท้ายบล็อกของเรา
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าฟีเจอร์ (features) ของบล็อกจะมีส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่วนของบล็อกเกอร์
ส่วนของผู้คอมเมนต์ก็คือกระดานเว็บบอร์ดนั่นเอง บางเว็บล็อกก็จะมีส่วนของตู้รับความคิดถึง (ตู้จดหมาย)
ส่วนของการส่งบทความบนบล็อกให้เพื่อน หรือฟีเจอร์ใหม่ๆ ตามแต่เว็บมาสเตอร์จะรังสรรค์ขึ้นมา
อยากมี Blog เป็นของตัวเองต้องทำอย่างไร ?เรียกกันง่ายๆ ว่า ถ้าเราอยากจะเป็น Blogger หรือ เจ้าของบล็อก เราจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น
เมื่อเราเขียนบันทึกเรื่องราวที่คิดว่าแสนจะประทับใจของเราแล้ว อย่ากระนั้นเลยเราอยากจะอินเทรนกับเขาบ้าง
เราจึงสมัครเป็นสมาชิกของเว็บล็อกใดเว็บล็อกหนึ่ง (อ่านว่า เว็บ-ล็อก) ขั้นตอนก็คือเลือกเว็บไซต์ตามใจปรารถนาที่มีบริการบล็อก
คีย์ข้อมูลส่วนตัวตามแบบฟอร์มที่กำหนด อย่าลืมคีย์อีเมล์ เพราะเราจะได้รับข่าวสารใหม่ๆ จากเว็บมาสเตอร์
พร้อมอัพโหลดรูปประจำตัว เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อย เราก็จะได้แอกเคาท์(account) ของการเป็นบล็อกเกอร์
ซึ่งเราสามารถตั้งชื่อแอกเคาท์ได้ตามใจชอบ แต่เว็บมาสเตอร์อาจกำหนดว่าต้องเป็นกี่ตัวอักษร ภาษาไทยหรืออังกฤษ
เช่น ชื่อในแอกเคาท์ คือ มณีจันทร์ แต่ชื่อจริง คือ เม้ยมะนิก ก็ได้ หลังจากนั้นท่านจะได้รับอีเมล์จากเว็บมาสเตอร์แจ้งมาว่า
การสมัครสมบูรณ์แล้วเราสามารถเขียนบล็อกบนแอ็กเคาท์ของเราได้ แต่บางเว็บไซต์ เช่น พันธุ์ทิพย์
เราจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของเว็บก่อน จึงจะสามารถเขียนบล็อกได้ ทั้งนี้โปรดเลือกเว็บที่เหมาะสมกับวุฒิภาวะทางอารมณ์
แปลว่า แม้ว่าอายุจะมาก แต่ใจยังวัยรุ่นก็สามารถสมัครเข้าบล็อกของวัยรุ่นได้ หรือจะสมัครเป็นสมาชิกเว็บอื่นๆ ก็ได้ เช่น
www.Pantip.com เว็บตลาดของคนไอที
www.exteen.com บล็อกไทยพันธุ์แท้ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด สมาชิกเกือบ 80,000 คน มีบันทึก
เรื่องราวกว่า 400,000 เรื่อง มีพื้นที่ให้สมาชิก 10 เมกะไบต์ สะใจชาวบล็อก
www.blogGang.com พื้นที่ของคนช่างคิด
www.gotoknow.org คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นบล็อกที่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของสถาบัน
ส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ให้พื้นที่สมาชิก 30 เมกะไบต์
สมาชิกสามารถสร้างบล็อกได้มากกว่า 1 บล็อก (Multi-Blog)
www.arip.co.th บล็อกน้องใหม่ของคอไอที เจ้าของเว็บเป็นเจ้าของนิตยสารที่คอไอที (อย่าง
เรา) ติดกันงอมแงม คือ Computer.today
เพิ่มลูกเล่นบน Blog ของเราอย่างไรได้บ้าง?อันนี้ขึ้นอยู่กับความเมตตาของเจ้าของบล็อกว่าจะให้พื้นที่เราสักกี่ไร่ (เมกะไบต์ฯ) จากตัวอย่างเว็บไซต์ข้างต้น
กรุณาให้พื้นที่แก่เรา 10 30 เมกะไบต์ บางบล็อกให้ถึง 1 กิกะไบต์เชียวนะ ก็นับว่าสามารถสร้างอาณาจักรได้ยิ่งใหญ่ทีเดียว
แล้วเราจะสร้างอะไรบ้างละ? บันทึกที่เราเขียนไว้เป็นตัวหนังสือธรรมดาๆ คิดง่ายๆ หากเราพิมพ์ตัวอักษรล้วนๆ
บนกระดาษ A4 สักประมาณกว่า 80 หน้า เราก็จะสามารถเก็บข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต (Drive A) ได้ใน 1 แผ่น(1 แผ่น = 1.44 เมกะไบต์)
แต่เรามีพื้นที่มหาศาลบนบล็อก ดังนั้น บล็อกของเราต้องสวย เลิศ พิศดาล อย่ากระนั้นเลย เราแปะไฟล์รูปภาพประกอบเนื้อหาที่เราเขียนจะดีกว่า
บวกด้วยไฟล์เสียงเพลงอันไพเราะเข้ากับบรรยากาศ บวกด้วยวิดีโอคลิปน้องหมาที่แสนจะน่ารัก แล้วก็เปิดอ่านบล็อกของชาวบ้านผ่าน WAP
(Wireless Application Protocol) บนมือถือก็ยังได้ ช่างอินเทรนอะไรเช่นนี้หนอเรา
Blog Tag ทำให้เรา world wild บางบล็อกท่านเว็บมาสเตอร์ได้สร้างช่อง Tag ซึ่งเป็นช่องให้กรอกข้อความสั้นๆ ให้เราอธิบายเนื้อเรื่องที่เราเขียนว่าเกี่ยวกับอะไร
เช่น บทความนี้เขียนเกี่ยวกับบล็อก มีหัวข้อหลายหัวข้อ เราอาจเขียน Tag ว่า Blog จะเท่ากับ 1 Tag
ทั้งนี้เราสามารถเขียนว่า Blog, Blogger, Ethic จะเท่ากับ 3 Tag ส่วนใหญ่เว็บมาสเตอร์จะนำ Tag ที่เราใส่ไว้ไปติดต่อกับ
www.techrati.com ซึ่งเป็นเว็บรวม Blog จากทั่วโลก ดังนั้นเวลาคนมา Search Tag ที่ตรงกับ Tag ของเราก็จะพบ Blog ของเราด้วย
ไม่ว่าจะใส่ Tag คำว่า Blog หรือ Blogger หรือ Ethic ก็จะปรากฏบทความนี้ให้เห็นได้เหมือนกัน
ชุมชนชาว Blog ความนิยมในการใช้บล็อกในประเทศเราเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มักจะเป็นการบันทึกเรื่องราวส่วนตัวว่าไปทำอะไร ที่ไหน พบเห็นอะไร
แล้วก็ถ่ายรูปมาให้เพื่อนดู การสร้างสรรค์ยังมีน้อย แต่ชุมชนบล็อกในต่างประเทศ บางท่านเรียกว่าบล็อกนั้นคือ ศิลาไฮเทค
หรือกล่องดำแห่งกูรู
(กูรูมาจากคำว่า คุรุตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน แปลว่า ผู้สั่งสอนหรือ ครู) ที่มีคนนำเสนอบทความที่เป็นแหล่งความรู้ในสาขาต่างๆ มีคำถาม มีคำตอบ ช่วยกันถามช่วยกันตอบ
จนความรู้ต่อยอดขยายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เมื่อเราต้องการพบปะขุมทรัพย์แห่งความรู้เหล่านี้ ก็สามารถเสิร์ชได้จากเสิร์ชเอ็นจิ้น
เช่น
www.google.com แล้วใส่คำว่า Blog จะเห็นเรื่องราวของใครต่อใครที่ว่าด้วยเรื่องบล็อก
ที่สำคัญ เช่น บล็อกของ
www.wikipedia.com ซึ่งเป็นพจนานุกรมออนไลน์ให้ใชกันฟรีๆ
จริยธรรมของ Blogger และการ Commentสมัยที่เราเป็นนักเรียนคอมพิวเตอร์ จะมีวิชาจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เราเรียกกันติดปากว่าวิชา เอธทิค
มาจากชื่อวิชาภาษาอังกฤษว่า Ethical in Information Technology เนื้อหาก็คือ วิชาหน้าที่พลเมืองและศีลธรรม
ที่เราเรียนในโรงเรียนสมัยเด็กๆ นั่นเอง แต่ในโลกของไซต์เบอร์อันไร้ขอบเขต
การมองเห็นตัวตนของคนผ่านกล้องเว็บแคมอาจจะไม่ใช่คนๆ นั้นจริงๆ ก็ได้
การหลอกลวง การแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ การทำลาย การแฮ็กข้อมูล
การแพร่พันธุ์ของไวรัสต่างๆ การนำภาพหรือคลิปวิดีโอในเชิงผิดจริยธรรมมานำเสนอ ล้วนเป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องตระหนัก และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ช่วยกันเป็นแบบอย่างที่ดี
เป็นหูเป็นตาที่จะปกป้องมิให้เยาวชนของเราได้ไปสัมผัสกับสิ่งเหล่านั้น
และแจ้งเบาะแสแก่เจ้าหน้าที่หากพบเห็นเว็บอันไม่พึงประสงค์เหล่านั้น
เราใน
ฐานะบล็อกเกอร์ หรือการเป็นผู้คอมเมนต์ก็ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดี ในการนำเสนอหรือการแสดงความเห็น กรณีที่น่าศึกษาคือ ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาตั้งแต่ต้นคือ บล็อกของ
www.exteen.com ที่เว็บมาสเตอร์คุณธีปกรณ์ฯ
ได้พัฒนาบล็อกมาตั้งแต่เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ปีที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ด้วยวัตถุประสงค์จะให้คนไทยมีบล็อกที่มีมาตรฐานใช้กัน ลงทุนเองทั้งหมด จนถึงขณะนี้กว่า 4 ปีมาแล้ว
บล็อกกลับ
ถูกใช้ไปในทางวิชามาร ขายหนังโป๊ ขายมือถือ คอมเมนต์มั่ว โปรโมทบล็อกตัวเอง
พิมพ์เรื่องไร้สาระ พิมพ์คำหยาบคาย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เปลืองพื้นที่ เปลืองทรัพยากรทั้งแบนดวิทธ์ ทั้งประสิทธิภาพของเครื่องเซริฟเวอร์ ไม่ก่อให้เกิดปัญญาในทางในขึ้นมาเลย จนเจ้าตัวต้องออกมาขอร้องว่า
อย่าคิดว่าบล็อกที่เขาอุตสาห์ทุ่มเททำมาด้วยความยากลำบากนั้น ใครจะเอาไปทำอะไรก็ได้ อย่างน้อยช่วยกันรักษ์ภาษาไทยก็ยังดีเปรียบเว็บมาสเตอร์คุณธีปกรณ์ฯ และบอร์ดพันธ์ทิพย์ กับ พี่แดน นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตและบอร์ดPSW ของเราสิคะ
น้องๆ และทุกคนเห็นอะไร..