จีเอมโอคืออะไร??
จีเอ็มโอ เป็นชื่อเรียกคำย่อของ Genetically Modified Organism หรือ GMO หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่
ได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมโดยอาศัยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering)
หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการตัดต่อยีน ในบางครั้งจะพบว่ามีการพูดถึงแอลเอ็มโอ (LMO) ซึ่งเป็นคำย่อมา
จาก Living Modified Organism หมายถึง จีเอ็มโอที่มีชีวิตอยู่
เกี่ยวกับยีนส์
ยีน (gene) เป็นหน่วยพันธุกรรมบนเส้นดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งอาจรวมอยู่บนโครโมโซมหรือส่วนใด
ส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต หน่วยพันธุกรรมหรือยีนสามารถทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในเซลล์เพื่อให้สิ่งมีชีวิต
นั้นมีการพัฒนาและเจริญเติบโตได้อย่างปกติ เช่นยีนที่สร้างโปรตีนเพื่อใช้เป็นโครงสร้างของเซลล์หรือ
เป็นเอ็นไซม์สำหรับการทำปฏิกริยาทางเคมี หรือยีนที่ควบคุมการทำงานของยีนอื่นๆ เป็นต้น บนเส้นดีเอ็นเอ
จึงมียีนเป็นจำนวนมาก เช่นแบคทีเรียมีประมาณ 4,000 ยีน แมลงหวี่ 20,000 ยีน พืชชั้นสูง 30,000-50,000
ยีน และมนุษย์ 100,000 ยีน จำนวนยีนและชนิดของยีนในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจัดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะสิ่งมี
ชีวิตนั้นๆ และสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ของแต่ละชนิดพันธุ์ (species) เอา
ไว้การถ่ายทอดยีนในสิ่งมีชีวิต มีส่วนให้เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือมนุษย์
การให้กำเนิดทารกมีการถ่ายทอดและผสมลักษณะทางพันธุกรรมหรือยีนจากพ่อและแม่เข้าด้วยกัน ลูกจึงมี
บางส่วนที่คล้ายพ่อ และบางส่วนคล้ายแม่และมีบางส่วนซึ่งแตกต่างไปจากพ่อและแม่ จะเห็นได้ว่าการถ่าย
ทอดยีนเป็นสิ่งปกติในธรรมชาติ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
การตัดต่อยีนส์
เมื่อความรู้เรื่องยีนมีมากขึ้น มีการศึกษาถึงรหัสหรือลำดับเบส สี่ชนิด คือ อดินิน (A) กัวนิน (G)
ทัยมิน (T) และซัยโตซิน (C) ที่เรียงรายอยู่บนเส้นดีเอ็นเอและรู้ถึงหน้าที่หรือกิจกรรมของกลุ่มเบส
ที่รวมกันเป็นยีนแต่ละยีน นักวิชาการสามารถตัดชิ้นของกลุ่มรหัสเหล่านี้ ไปเชื่อมต่อกับเส้นดีเอ็นเอ
ของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้โดยอาศัยปฏิกริยาทางชีวเคมี เทคนิคการตัดต่อยีนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของเทคนิค
พันธุวิศวกรรม ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นโดยมุ่งหวังจะให้เกิดการถ่ายยีนจากสิ่ง
มีชีวิตชนิดหนึ่งไปให้กับสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมตามที่ต้องการ
สิ่งมีชีวิตใหม่ที่ได้รับการตัดต่อยีนเพิ่มเติมจากเดิมคือจีเอ็มโอ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
แนวทางการใช้ประโยชน์
การตัดต่อยีนเป็นเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยและพัฒนามาจากองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เป็นเทคนิคที่รวมอยู่ในเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการนำสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือจุลินทรีย์ มาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หากสามารถปรับปรุงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพสูงโดยการตัดต่อยีน ย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตด้านเทคโนโลยีชีวภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม แนวทางการใช้ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือด้านการเกษตร เทคนิคการตัดต่อยีนสามารถแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างกว้างขวาง เช่น
1. การเพิ่มผลผลิตโดยการพัฒนาพันธุ์พืชหรือสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง การผลิตอาหารให้เพียงพอต่อ
ความต้องการของประชากรโลก เป็นสิ่งที่สังคมโลกมีความวิตกกังวล จากการคาดการณ์ของสหประชาชาติ
ประชากรโลกมีการเพิ่ม 9,000 คนต่อชั่วโมง ถ้าเริ่มจาก ค.ศ. 2000 ซึ่งมีประชากร 6,000 ล้านคน ในปี ค.ศ.
2020 ประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 10,000 ล้านคน ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรนี้อาศัยอยู่ในแถบทวีป
เอเชีย หากไม่มีการเตรียมการที่เหมาะสมย่อมส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอาหารในระยะเวลาไม่นานนัก
2. การลดต้นทุนการผลิต การผลิตทางการเกษตรในปัจุบันนี้มีการใช้สารเคมีเพื่อการกำจัดแมลงศัตรูพืช
และโรคพืช ในอัตราค่อนข้างสูง เกษตรกรรายย่อยมักจะประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัด
หาปัจจัยการผลิตหรือประสบภาวะการขาดทุนเพราะต้นทุนการผลิตสูง ยิ่งไปกว่านั้นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัด
ศัตรูพืช มีผลเสียต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นอย่างมาก การนำเทคโนโลยีด้านการตัดต่อยีนมาใช้เพื่อผลิตพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรค หรือแมลงศัตรูพืช จึงเป็นการช่วยลดต้น
ทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชากรโลก
3. การรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านการเกษตร หากเกษตรกรสามารถ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้สูงขึ้น ขณะเดียวกันลดต้นทุนด้านการผลิตลง ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตในพื้นที่
เดิมได้ต่อไปโดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก นับว่าเป็นการรักษาป่าและสภาพแวดล้อม
ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เทคโนโลยีสามารถเอื้อต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืช หรือสัตว์ที่หายาก หรือใกล้จะสู.พันธุ์
โดยการนำมาเพิ่มปริมาณหรืออนุรักษ์ไว้ในรูปแบบที่เหมาะสม
มีการใช้จีเอ็มโอแล้วหรือยัง???
ในทางอุตสาหกรรมและการแพทย์ มีการนำเทคโนโลยีการตัดต่อยีนมาใช้ เพื่อให้จุลินทรีย์ผลิต
สารหรือผลิตภัณฑ์บางชนิดมาเป็นเวลานานแล้วส่วนทางด้านเกษตรเริ่มมีการผลิตพืชจีเอ็มในเชิง
การค้าเมื่อ ค.ศ. 1994 ต่อมาได้มีการพัฒนาพืชจีเอ็มที่ต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช โรคพืช และยาปราบ
วัชพืชแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงพืชน้ำมันให้มีคุณภาพที่ดีเหมาะสมต่อการบริโภค
ดังจะเห็นได้จากพื้นที่การปลูกพืชจีเอ็มทั่วโลกในปี ค.ศ. 1996 ประมาณ 10.75 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นเป็น
328 ล้านไร่ในปี ค.ศ. 2001 พืชจีเอ็มส่วนใหญ่ประกอบด้วย ฝ้าย และข้าวโพดที่ต้านทานแมลง ถั่วเหลือง
ต้านทานยาปราบวัชพืชและพืชน้ำมันคาโนลา (canola) พืชจีเอ็มที่ต้านทานโรคไม่มีการปลูกมากนัก ที่มี
ผลิตในเชิงการค้า ได้แก่มะละกอ มันฝรั่ง และสควอช (squash) ประเทศที่มีการปลูกพืชจีเอ็ม ได้แก่
สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา คานาดา จีน อาฟริกาใต้ และออสเตรเลีย
จีเอ็มโอกับประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นประเทศที่อาศัยการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การนานาชาติที่มีการ
เปิดตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ประเทศไทยจึงเกี่ยวข้องกับ
จีเอ็มโออย่างที่จะหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรที่จะได้มีการศึกษาและทำความเข้าใจในเรื่องนี้กันให้ชัดเจน ซึ่ง
จะเห็นได้ว่าในด้านการผลิต เทคโนโลยีมีศักยภาพในการพัฒนาพันธุ์พืช สัตว์ ให้มีคุณภาพและผลผลิตสูง
มีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ขณะเดียวกัน ในด้านการนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์
ความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับจีเอ็มโอ จะช่วยให้ประเทศสามารถกำหนดแนวทางปฏิบัติ การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค
จีเอ็มโอ:ปลอดภัย???
จีเอ็มโอ เป็นผลผลิตของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ในทางทฤษฎีเป็นที่เข้าใจกันว่า เทคโนโลยีต่างๆ
ที่มนุษย์นำมาใช้ จะมีส่วนที่เป็นประโยชน์ (benefit) และความเสี่ยง (risk) ที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี การ
ตัดสินใจใช้เทคโนโลยีใดๆ จึงเป็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเทคโน
โลยีที่ได้ประโยชน์สูงกว่าความเสี่ยงจะถูกนำไปใช้ จีเอ็มโอก็ได้รับการพิจารณาภายใต้แนวทางปฏิบัตินี้เช่น
เดียวกัน ถ้าหากจะดูด้านความเสี่ยงจากจีเอ็มโอข้อพิจารณา คือ จีเอ็มโอมีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมหรือไม่
เช่นยีนที่ตัดต่อให้พืชชนิดหนึ่งเคลื่อนย้ายไปสู่พืชหรือจุลินทรีย์ต่างๆ แล้วก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นหรือไม่
หรือการปลูกพืชจีเอ็มในพื้นที่ขนาดใหญ่จะทำให้สูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติหรือไม่ อีกส่วนหนึ่ง
ที่สำคัญคือ พืชหรือสัตว์ที่เป็นจีเอ็มโอ มีผลเสียต่อผู้บริโภคหรือไม่ เช่นทำให้เกิดภูมิแพ้ เป็นพิษ หรืออาการ
ผิดปกติอื่นๆ เป็นที่น่ายินดีว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากจีเอ็มโอในขณะนี้ผ่านการทดสอบตามแนวทางปฏิบัติ
อันเป็นที่ยอมรับโดยสากล ไม่ปรากฎว่ามีความเสี่ยงในระดับที่จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และต่อสภาพแวด
ล้อม ผู้ผลิตเองก็มีความพยายามในการตัดต่อยีนที่มีความปลอดภัยสูงให้กับพืช หรือหลีกเลี่ยงการนำยีนจาก
สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นข้อห้ามทางศาสนาจารีตประเพณีมาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
จีเอ็มโอ:อดีต ปัจจุบัน อนาคต
จีเอ็มโอไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในประเทศอุตสาหกรรม หรือประเทศ
พัฒนาแล้ว ส่วนมากโดยบริษัทที่มีการวิจัยพัฒนาและการลงทุนสูง ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอในอดีตจึงได้รับการ
โฆษณาเพื่อประโยชน์ในด้านธุรกิจการค้าเป็นหลัก ความเป็นห่วงเรื่องการผูกขาดด้านเทคโนโลยีและความ
ปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ประชากรบางกลุ่มเห็นว่าขาดความชัดเจน จึงมีการต่อต้านหลังจากมีการผลิตและ
จำหน่ายผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอได้ไม่นาน ปัจจุบันผู้ผลิตและผู้บริโภค มีการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีร่วมกันได้มากขึ้น มีการทดลอง ทดสอบ และติดตามการใช้ประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะเกิด
ขึ้นอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันสังคมมีทางเลือกมากขึ้นว่า จะใช้หรือไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอ สำหรับอนาคตนั้นคาดหมายว่าการยอมรับ จีเอ็มโอ และผลิตภัณฑ์จะมีมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิตและผู้บริโภคมีประสบการณ์
ในเรื่องนี้อย่างพอเพียง มีการพัฒนาจีเอ็มโอ และผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคโดยมาก
ขึ้น เช่นการนำจีเอ็มโอไปใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข และการรักษาสภาพแวดล้อม เอกสารเผย
แพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพของ พืชอาหาร รวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเผยแพร่สู่ประชาชน
เครดิต.
thai-tsukuba-jour.netfirms.com+สุพัฒน์ อรรถธรรม Knowledge Center on Crop Biotechnology +
ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ Biosafety and Biotechnology Information Centre (BBIC) +
หน่วยปฏิบัติการพันธุวิศวกรรมด้านพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม +
isaaa.org + safetybio.com + E-mail : knowledge.center@isaaa.org + safetybio@yahoo.com
ปล.สรุปคือถ้าเราใช้จีเอ็มโอเป็น อาจสามารถเปลี่ยนรูปร่างของลูกของตัวเองได้เช่น มีคิ้วหนา ผิวสีเหลือง ผมดำ ตาสีฟ้า ฯลฯ
แต่ในปัจจุบันไม่มีการยอมรับของคนทั้งโลกว่าจะใช้จีเอ็มโอกับมนุษย์ เพราะขัดกับศีลธรรมของศาสนาทุกศาสนา เพราะเป็นบาป