Potter Story Webboard [TH]

Potter Story Lobby !!! => ภาพยนตร์ - การแสดง ! => ข้อความที่เริ่มโดย: ~OrenjI~ ที่ 07 สิงหาคม 2010, 04:11:06 pm

หัวข้อ: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: ~OrenjI~ ที่ 07 สิงหาคม 2010, 04:11:06 pm
[hide]โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'


ปาร์ค ยองฮา นักแสดงและนักร้องวัย 32 ปี กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากท่ามกลางกระแสกิมจิ หรือ โคเรียนเวฟ ที่ถาโถมอุตสาหกรรมบันเทิงเอเชีย
ชื่อเสียงของเขาโด่งดังพร้อมกับภาพยนตร์เรื่อง Winter Sonata ที่ออกฉายเมื่อปี 2545
และกำลังจะมีผลงานใหม่เรื่อง Love Song ทั้งยังมีคิวแสดงคอนเสิร์ตที่ญี่ปุ่นปลายเดือนนี้



(http://image.ohozaa.com/ie/big_128073915968.jpg)
ปาร์ค ยองฮา


แต่เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่ผ่านมา ดาราหนุ่มผู้ดูเหมือนมีทุกอย่างเพียบพร้อมก็กลายเป็นศพในอพาร์ตเมนต์ โดยชัดเจนว่าเขาฆ่าตัวตาย
การเสียชีวิตของดาราหนุ่มทำให้แฟนทั่วโลกช็อค และนับเป็นคนดังรายล่าสุดที่ปลิดชีพตัวเอง


โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2551 ชอยจินซิล ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น ดาราสาวของประเทศ ก็แขวนคอตายขณะมีอายุเพียง 29
ก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือน อัน แจฮวาน นักแสดงและดาราตลกวัย 36 เสียชีวิตในรถยนต์และชัดเจนว่าฆ่าตัวตาย
และเมื่อปี 2548 ลี อุนจู นักแสดงและนางแบบสาววัย 24 ก็ปลิดชีพตัวเอง


(http://image.ohozaa.com/if/big_128073915970.jpg)
ลี อุนจู  



หากหันไปมองนอกวงการบันเทิง ก็มีอดีตประธานาธิบดีโรห์ มูยุน ที่กระโดดหน้าผาตายเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว
ขณะที่ ปาร์ค ยองโอ อดีตประธานดูซาน กรุ๊ป บริษัทเครือเก่าแก่ที่สุดของเกาหลีใต้ ปลิดชีพตัวเองเมื่อเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน


เหตุผลที่ทำให้คนดังพากันปลิดชีพมีแตกต่างกัน อย่างรายของดาราหนุ่มปาร์คนั้น สื่อรายงานว่าหดหู่กับการที่บิดาเป็นมะเร็ง
ขณะที่อดีตประธานาธิบดีโรห์ถูกกล่าวหาว่าคอร์รัปชัน แต่สภาพการณ์นี้ก็สะท้อนปัญหาในวงกว้างของแดนโสมขาว


โดยเมื่อปีที่แล้ว เกาหลีใต้มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในบรรดา 31 ประเทศมั่งคั่งในองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี)
ด้วยจำนวนผู้ฆ่าตัวตายประมาณ 22 คนจาก 100,000 คน
โออีซีดีตั้งข้อสังเกตด้วยว่าอัตราการฆ่าตัวตายในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทั้งที่ในชาติอื่นของโออีซีดีมีอัตราลดลง เช่น อัตราฆ่าตัวตายในหมู่ผู้ชายเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าระหว่างปี 2533-2549


โออีซีดีชี้ว่าสาเหตุที่ทำให้การฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น มาจากความเป็นกลุ่มก้อนในสังคมและประเพณีดั้งเดิมของการสนับสนุนกันในครอบครัวลดลง
ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ศาสตราจารย์ลี มินซู ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกาหลี สนับสนุนแนวคิดนี้และมองว่าการฆ่าตัวตายสูง เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ที่มาพร้อมการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และวัฒนธรรมไม่สามารถปรับตัวตามได้ทัน


เมื่อทศวรรษ 60 สังคมโสมขาวยังคุ้นเคยกับประเพณีดั้งเดิมในชนบท ซึ่งคน 3 ชั่วอายุคนมักอาศัยอยู่ใต้ชายคาเดียวกัน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวอยู่ในระดับเดียวกับประเทศยากจนทั้งหลายในเอเชีย
แต่นับจากนั้นเกาหลีใต้ก็มีเสรีภาพทางการเมืองและการค้า รวมถึงความเป็นอุตสาหกรรมไฮเทค จนทำให้โสมขาวเป็นหนึ่งในประเทศมั่งคั่งที่สุดในโลก


แต่ขณะที่ มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจ ถาโถมประเทศให้มีความร่ำรวยมากขึ้น
โครงสร้างดั้งเดิมทางสังคมก็แตกสลายลง ส่งผลให้ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ราคาบ้านสูงขึ้น ระบบจ้างงานตลอดชีพหายไป
มีการแข่งขันหางานกันอย่างดุเดือด และมีคนติดแอลกอฮอล์มากขึ้น


รัฐบาลรายงานอัตราหย่าร้างเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าช่วงปี 2532-2552
ขณะที่ขนาดครัวเรือนลดลงอย่างรวดเร็วจากที่เคยอยู่ร่วมกันหลายรุ่นในหลังคาเดียวกัน ก็เหลืออยู่แค่ 3 คนในหลังคาเดียวกัน


นี่เป็นสิ่งที่เราต้องเสียไปสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจแบบไม่ยั่งยืน ศาสตราจารย์ลีระบุ


• อิทธิพลจากฮั่น
ขณะที่ ศาสตราจารย์วาง ซันมิน แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยยอนไซ กล่าวว่าปัญหายังเกี่ยวโยงไปถึงแนวคิดแบบ ฮั่น ของเกาหลีใต้
ที่เชื่อมโยงถึงอารมณ์อัดอั้นและการหาทางออกไม่ได้ยามเผชิญสถานการณ์ยากลำบาก  ฮั่นฝังลึกในสังคมอย่างมากและเชื่อมโยงกับความหดหู่
โดยเมื่อสถานการณ์เลวร้ายและคนไม่สามารถแสดงความรู้สึกออกมาได้ ก็มักรู้สึกอัดอั้น ยอมแพ้ และหาทางออกแบบสุดขั้ว


คัง โดยุน แห่งภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยการแพทย์โซล ชี้ว่าปัจจัยทั้งหลายแหล่อาจรุนแรงมากขึ้นในหมู่คนดัง
ซึ่งมักตกเป็นเป้าสายตาสาธารณชนตลอดเวลาและพบว่าเป็นการยากมากที่จะซ่อนอารมณ์ความรู้สึก
ขณะที่ปัญหาของพวกเขาถูกขุดคุ้ยออกมารายงานตามสื่อต่างๆ ให้ทราบกันทั่ว


คังยังชี้ถึงการตีข่าวการฆ่าตัวตายของคนดัง ว่าอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีอัตราการปลิดชีพสูง
แม้เป็นการยากที่จะเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้าด้วยกัน แต่ศาสตราจารย์ลีชี้ว่าการรายงานข่าวคนฆ่าตัวตายอย่างละเอียด เป็นสิ่งที่น่าวิตก


ทั้งนี้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า
การฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 4 สำหรับชาวเกาหลี รองจากโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคลมปัจจุบัน


สมาคมป้องกันการฆ่าตัวตายจึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรณรงค์ให้คนตระหนักถึงปัญหานี้
และดำเนินความพยายามแก้ปัญหา แม้ยูน แดฮุน ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภายนอกของสมาคมป้องกันการฆ่าตัวตาย ระบุว่าปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขอย่างง่ายๆ ก็ตาม


เรากำลังพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ยังต้องทำอีกหลายสิ่ง สังคมเกาหลีใต้ต้องเปลี่ยนแปลงที่แก่น ยูนระบุ


การเคลื่อนไหวเมื่อเร็วๆ นี้ของทางสมาคมคือการร่วมมือกับตำรวจ และกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อระดมอาสาสมัครหลายร้อยคนทำหน้าที่ติดตามบอร์ดแสดงความเห็นตามเวบไซต์ต่างๆ รวมถึงเวบเกี่ยวเนื่องกับการฆ่าตัวตาย


การวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดระบุว่า เกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก
แต่สิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงการสื่อสารที่ดีเสมอไป เพราะนักสังคมวิทยาบางคนชี้ว่าวัยรุ่นเกาหลีใต้โดดเดี่ยวมากขึ้น เพราะมีปฏิสัมพันธ์เบื้องต้นทางระบบออนไลน์นั่นเอง
แถมบางครั้งยังใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด อย่างการรวมตัวกันทางออนไลน์เพื่อพูดถึงวิธีฆ่าตัวตาย


(หมายเหตุ : เรียบเรียงจากหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัล)



ข้อมูลจาก
http://www.bangkokbiznews.com + popcornfor2




บทความนี้ระบุอยู่ในหัวข้อข่าวทั่วไป  และคิดเห็นว่าเป็นเรื่องที่พวกเราน่าจะรับรู้กันเอาไว้บ้าง
เพราะมันเป็นปัญหาที่ค่อนข้างจะใกล้ตัวมากๆ ในปัจจุบัน  ...  เลยเอามาอยู่ในห้องนี้แทนน่ะค่ะ

การฆ่าตัวตายมันมาจากหลายสาเหตุ  ไม่จำเป็นว่าต้องเครียดมาก หาทางออกไม่ได้แล้วฆ่าตัวตายเท่านั้น
แค่คุณเครียดเป็นปกติแต่มีปัจจัยด้านอื่นประกอบ  เช่น สภาพอากาศ  ...  ก็สามารถทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวจนอยากฆ่าตัวตายได้เช่นกัน

จากประสบการณ์ส่วนตัว
พี่ว่า  "การคุยกับตัวเอง, การร้องไห้"  เป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาได้ทางนึง
อย่างในบทความที่กล่าวในปัจจุบันเราใช้ชีวิตกับอินเตอร์เน็ทมากขึ้น
เราคุยกับคนอื่นน้อยลง  ทักษะการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  โดยเฉพาะผู้ที่อายุมากกว่าน้อยลง
มันส่งผลทำให้เวลาเกิดปัญหา  เราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีเท่าที่ควร

สำหรับมุมมองเกี่ยวข้องกับบทความนั้น
โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าคนเกาหลีจะเหมือนกับคนไทยตรงที่ 
"ไม่ยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริง  ต้องการฮีโร่ (ที่ไม่ใช่คนปกติ) เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
มากกว่าที่จะสอนว่ามนุษย์มีทั้งข้อดี - และข้อเสีย, และขี้อิจฉา"

แต่สังคมไทยก็มีข้อดีตรงที่รู้จักประนีประนอม  อะลุ่มอล่วย 
หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง  ก็ทำเป็นไม่รู้เห็นซ่ะ  ...  แต่มันก็ทำให้เราดูเหลาะแหละ
ซึ่งผู้คนในหลายประเทศบอกว่าคนไทยขี้เกียจนั้นแหละ  5 5 5 +

ในทางกลับกันข้อดีของคนเกาหลี  คือ เป็นจริงจัง, เคร่งครัด, ไม่ยอมแพ้
มันก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้เมื่อเกิดปัญหาขึ้น  การฆ่าตัวตายจึงเป็นทางออกที่ดีกว่า
อย่างน้อยก็ดีกว่าการมีชีวิตอยู่เพื่อให้ผู้คนประณามไปตลอดชีวิต

ยกตัวอย่างกรณีของคุณชอยจินซิล  ที่ผู้เรียกเธอว่า  "ดาราสาวของประเทศ" แท้ๆ
แต่เมื่อผู้คนทราบเธออาจจะเป็นหนึ่งสาเหตุของการตายอัน แจฮวาน
จากดาราที่ผู้คนชื่นชอบกลายเป็นดาราที่ผู้คนพร้อมใจกันประณามในชั่วข้ามคืน
จนเธอไม่สามารถแบกรับสภาพต่อไปได้  จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด[/hide]













หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: NickkY37 ที่ 11 พฤษภาคม 2013, 03:33:44 am
อ่ะ อยากเหง กลอน  :( :( :( :(
หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: NickkY37 ที่ 27 พฤษภาคม 2013, 07:16:05 am
ว่อนไว้ทามไมม
หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: sectionfull ที่ 12 ธันวาคม 2013, 11:44:11 am
ไหนล่ะ
หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: potatoten ที่ 22 มีนาคม 2014, 09:46:00 am
น่าสนใจมากๆครับ
หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเชี่ยว 'กิมจิ'
เริ่มหัวข้อโดย: boombernova ที่ 08 เมษายน 2014, 09:11:44 am
สนุกไหมคับบอกที่
หัวข้อ: Re: 07/08/53 :: [บทความ] โดดเดี่ยวในกระแสน้ำเ?
เริ่มหัวข้อโดย: Canegi99 ที่ 27 พฤศจิกายน 2019, 07:34:44 am
หาไม่เจอ