ผู้เขียน หัวข้อ: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...  (อ่าน 4564 ครั้ง)

~风风~

  • ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ชีวิตนี้ก็ยังไม่สิ้นหวัง(เเต่ก็ไม่อยากจะหวังอะไรอีกเเล้ว)
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 6
  • *********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1006
  • เเละเเล้วก็ถึงวันนี้ ...จนได้สิน่ะ
18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« เมื่อ: 18 ธันวาคม 2009, 06:52:52 am »
บังเอิญว่า อา ของเรา เพิ่งมีจะน้อง(ตัวเล็กๆ) ก็เลยหาเรื่องพวกนี้ให้อา ก็เลย
มาตั้งกระทู้ดีกว่า เผื่อคนที่ยังไม่ทราบค่ะ  ... เเละนำเรื่องที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ^^

น้ำนมเเม่มีค่านัก...
วารสารการแพทย์แลนเซ็ต เผยผลวิจัยของ 3 นักวิจัย มาร์กาเร็ต เค.เดวิส, เดวิด เอ.ซาวิตซ์ และแบร์รี่ไอ. กรอบาร์ด ที่ศึกษาเด็กอเมริกัน 201 คน ซึ่งป่วยด้วยโรคมะเร็งระหว่างอายุ 18 เดือนถึง 15 ปี เปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกันที่เลี้ยงด้วยนมมารดาเกิน 6 เดือน 181 คน
ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมเทียม หรือเลี้ยงด้วยนมแม่ไม่ถึง 6 เดือนจะมีโอกาสป่วยเป็นมะเร็งมากกว่าเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่ถึง 2 เท่าในช่วงอายุดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยจากสถาบันเพื่อสุขภาพเด็กและพัฒนาการของมนุษย์แห่งสหรัฐยอมรับว่า ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่สมบูรณ์นัก เพราะยังมีตัวแปรและองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้ตรวจสอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการให้นมเด็ก และโรคมะเร็ง พ่อแม่หลายคนยังให้การไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากจำการเลี้ยงลูกของตนในช่วงต้น ๆ ไม่ค่อยได้เพราะผ่านมาเป็นเวลานาน
ผลการวิจัยพบว่าการเลี้ยงเด็กด้วยนมแม่ทำให้เด็กสามารถสร้างภูมิยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุ ลินทรีย์ ในขณะที่การเลี้ยงเด็กด้วยนมเทียมจะลดภูมิคุ้มกันสำคัญ ๆ ซึ่งจะเป็นปราการป้องกันมะเร็งทุกชนิดตามธรรมชาติ

ผลการวิจัยระบุว่า มะเร็งที่มีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงเด็กด้วยนมเทียมคือ มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง
--------------------------------------------------------------------------------------------------------


ยาแก้ปวดหัว

ปวดหัว
ปวดหัวเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดและเป็นปัญหาสุขภาพที่ทุกคนเคยประสบมาไม่มากก็น้อย บางคนโชคดี ปวดหัวบ้างนานๆ ครั้ง แต่ในบางคนอาจเป็นโรคปวดหัวเป็นประจำ และจะยิ่งแย่ลงไปอีก ถ้าเป็นโรคปวดหัวชนิดรุนแรงจนรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตตามปกติสุข เพราะในบางคนอาจปวดหัวจนนอนไม่หลับ หรือไม่สามารถทำงานตามปกติได้

สาเหตุของการปวดหัว
สาเหตุของโรคปวดหัวมีหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยๆ และเป็นกันมาก คือ

๑. ปวดหัวที่เกิดจากความเครียด พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหาที่แก้ไม่ตก ต้องครุ่นคิด หรือตรากตรำทำงานใช้สมองติดต่อกันนานๆ ปวดหัวชนิดนี้มักมีอาการปวดบริเวณขมับ พร้อมกับมึนๆ งงๆ เวียนศีรษะ นอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิด โมโหง่าย เหนื่อย ใจสั่น

๒. ปวดหัวจากไมเกรน เป็นการปวดหัวจากการผิดปกติของหลอดเลือด มีอาการปวดที่บริเวณขมับ ปวดตุ๊บๆ ในบางรายอาจมีอาการตาลายร่วมด้วย

๓. ปวดหัวจากความดันเลือดสูง พบได้บ่อยเช่นกัน โดยเฉพาะในวัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ ซึ่งมักปวดบริเวณท้ายทอย โดยเฉพาะตอนเช้าๆ หลังตื่นนอน ในรายเช่นนี้ควรไปรับการตรวจระดับความดันเลือดร่วมด้วย

๔. ปวดหัวจากโรคไซนัสอักเสบ เป็นอีกโรคหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการปวดหัว แต่การปวดหัวจากไซนัสอักเสบจะแตกต่างจากปวดหัวอื่นๆ เพราะจะมีอาการผิดปกติทางจมูกร่วมด้วย เช่น โพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง มีน้ำมูกบ่อยๆ น้ำมูกสีเขียว คัดจมูก เป็นไข้ เป็นต้น ส่วนใหญ่บริเวณที่ปวดขึ้นอยู่กับตำแหน่งของไซนัสที่เกิดการอักเสบ

๕. ปวดหัวจากความผิดปกติของสายตา ในบางครั้งในคนสายตาสั้น สายตายาว หรือความผิดปกติอื่นๆ ของสายตา ก็เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดหัวได้

นอกจากนี้ โรคปวดหัวอาจเกิดจากโรคอื่นๆได้อีกมาก ซึ่งจะไม่ขอกล่าวถึง ณ ที่นี้ เนื่องจากปวดหัวมีสาเหตุและมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน การดูแลรักษาจึงขึ้นอยู่ว่ามีอาการหรือยัง ถ้ายังไม่มีอาการปวดหัวก็ควรป้องกันด้วยการกำจัดหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุไม่ให้เกิดอาการปวดหัว เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้สมองและเคร่งเครียดเกินไป การรักษาระดับความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ การใส่แว่นสายตาในรายที่สายตาสั้น เป็นต้น แต่ถ้ามีอาการปวดหัวแล้วก็ควรบรรเทาอาการ รักษาให้ทุเลาหรือหายจากปวดหัวด้วยการใช้ยา โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นปวดหัวเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจหายามารักษาด้วยตนเองได้ แต่ถ้าใช้ยาแล้วไม่ดีขึ้นหรืออาการรุนแรงมากหรือมีอาการแปลกๆ เช่น มีแสงแวบๆ ในตา เห็นสีรุ้ง เป็นต้น ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อให้การรักษาต่อไป

ยาแก้ปวดหัว
เนื่องจากอาการปวดหัวมีหลายระดับ ตั้งแต่ปวดเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปวดมากขึ้นๆ จนถึงขนาดปวดรุนแรง ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะยาแก้ปวดหัวระดับเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปานกลางเท่านั้น จะไม่ขอกล่าวถึงยาแก้ปวดหัวชนิดรุนแรง ซึ่งควรอยู่ในความดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ยาแก้ปวดหัวที่รู้จักกันดีได้แก่ ยาพาราเซตามอล ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยากรดเมเฟนามิก เป็นต้น

พาราเซตามอล
คำว่า "พาราเซตามอล" (paracetamol) เป็นชื่อที่พวกเรารู้จักกันดี โดยเรียกตามชาวยุโรป แต่ในสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันจะไม่เรียกยานี้ว่าพาราเซตามอล แต่รู้จักกันในชื่อ "อะเซตามิโนเฟน" (acetaminophen) ไม่ว่าจะใช้ชื่อไหนก็ตามล้วนเป็นตัวยาเดียวกันทั้งสิ้น ใช้แก้ปวด ลดไข้ และแก้ ตัวร้อน ได้ผลดีและค่อนข้างปลอดภัยเหมือนๆ กัน เพราะเป็นตัวยาเดียวกัน แต่มี ๒ ชื่อ แล้วแต่ว่าจะเรียกตามชาวยุโรป หรือตามชาวอเมริกัน ยานี้เป็นยาที่ปลอดภัยถ้ามีการใช้ในขนาดปกติและในระยะเวลาสั้นๆ เช่น ใช้ครั้งละ ๑-๒ เม็ด (๕๐๐ มิลลิกรัม) ทุก ๔-๖ ชั่วโมง และใช้ติดต่อกันไม่เกิน ๕-๗ วัน ถือว่าเป็นขนาดปกติและปลอดภัยในการใช้ พบอาการอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง แต่พบได้น้อย เช่น ผื่น คัน เป็นต้น แต่ถ้ามีการใช้ในขนาดที่สูงกว่านี้ เช่น ในขนาด ๑๐ กรัม หรือ ๒๐ เม็ดของขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัมครั้งเดียว จะเกิดพิษต่อตับได้ ทำให้ตับอักเสบ ดีซ่าน และตับวายได้ เพราะยานี้ในขนาดสูงจะถูกเปลี่ยนไปเป็นสารที่มีพิษปริมาณมาก แล้วสารพิษเหล่านี้จะมาทำลายตับ ซึ่งในการใช้ยาพาราเซตามอลในขนาดปกติ ร่างกายของเราจะสร้างสารพิษนี้ด้วยเช่นกัน แต่มีปริมาณน้อยมากจนไม่มีผลในการทำลายตับ หรือการใช้ในขนาดปกติ ถือว่าปลอดภัย

นอกจากนี้ มีรายงานการเกิดพิษในระยะยาวว่า การใช้ยาพาราเซตามอล วันละ ๓ กรัม หรือ ๖ เม็ดของขนาด ๕๐๐ มิลลิกรัม ติดต่อกันทุกวันเป็นระยะเวลา ๑ ปี มีอาการผิดปกติของตับเกิดขึ้น แต่เมื่อหยุดยาได้ ๕ สัปดาห์ ตับก็กลับมาทำงานได้ตามปกติ ดังนั้น การกินยานี้ จึงควรใช้ในขนาดปกติ เมื่อมีความจำเป็น และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ ในบางครั้งอาการปวดอาจเป็นรุนแรงมากขึ้น การใช้ยาพาราเซตามอลอาจได้ผลเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้ผลเลย ซึ่งแสดงว่า ระดับการปวดหัวมีระดับรุนแรงมากขึ้น ซึ่งควรเปลี่ยนตัวยาจากพาราเซตามอลไปเป็นชนิดอื่นที่ระงับอาการปวดได้ดีกว่า เช่น แอสไพริน กรดมีเฟนามิก ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์แก้ปวดได้ในระดับปานกลาง มีการนำไปใช้บรรเทาอาการปวดในโรคต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งรวมถึงการปวดหัวด้วย นอกจากนี้ ยากลุ่มนี้ยังมีฤทธิ์ลดไข้ แก้ตัวร้อนได้ผลดีอีกด้วย

แอสไพริน
ในผู้ใหญ่ควรเลือกใช้ยาแอสไพรินชนิดเม็ดละ ๓๒๕ หรือ ๕๐๐ มิลลิกรัม ครั้งละ ๒ เม็ด วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น

ไอบูโพรเฟน
ยาไอบูโพรเฟน ควรใช้ชนิดเม็ด ๔๐๐ มิลลิกรัม (หรือชนิดเม็ดขนาด ๒๐๐ มิลลิกรัม จำนวน ๒ เม็ด) วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น

กรดมีเฟนามิก
ส่วนยาแก้ปวดกรดมีเฟนามิก ควรใช้ชนิดเม็ด ๕๐๐ มิลลิกรัม ครั้งละ ๑ เม็ด (หรือชนิดเม็ดขนาด ๒๕๐ มิลลิกรัม จำนวน ๒ เม็ด) วันละ ๓ ครั้ง หลังอาหารทันที เช้า กลางวัน เย็น เนื่องจากยาแก้ปวดทั้งสามชนิดหลังนี้มีฤทธิ์เป็นกรด ในการใช้จึงควรกินหลังอาหารทันที เพื่อช่วยลดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และไม่ควรกินติดต่อกันนานๆ เพราะจะทำให้เกิดเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ เมื่ออาการหายดีแล้ว ก็ควรหยุดยาได้เลย อนึ่ง เนื่องจากในปัจจุบันมีความนิยมในการใช้ยาไอบูโพรเฟนกันมากขึ้น และมีรายงานเกิดการแพ้ยาไอบูโพรเฟนมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นในการเลือกใช้ยานี้จึงควรซักถามให้แน่นอนก่อนว่าไม่เคยใช้ยานี้ เพราะอาจเกิดอันตรายรุนแรงขึ้นได้ อีกประการหนึ่งที่พบบ่อย คือผู้ป่วยจำนวนมาก นิยมใช้ยาแก้ไข้หวัดชนิดแผงในการรักษาอาการปวดหัว ซึ่งก็สะดวกและพอใช้ได้ เพราะหาซื้อได้ง่าย และประกอบด้วยตัวยาพาราเซตามอลที่มีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ ได้ผลดี แต่ยาแก้ไข้หวัดชนิดแผงนี้นอกจาก มียาพาราเซตามอลแล้ว ยังประกอบไปด้วยตัวยาอื่นๆ อีก ๒-๓ ชนิด เช่น คลอร์เฟนิรามีน (ยาแก้แพ้) เฟนีลเอฟรีน (ยาลดอาการคัดจมูก) วิตามิน ซี เป็นต้น ซึ่งยาทั้งสามชนิดหลังนี้ไม่มีประโยชน์ต่ออาการปวดหัวเลย จึงเป็นการได้ยาโดยไม่จำเป็น   ดังนั้นถ้ามีโอกาสที่สามารถเลือกได้ ก็ควรใช้ยาเดียวที่แก้ปวดหัวโดยตรงแทนยาแก้ไข้หวัดชนิดแผงจะได้ผลเท่าเทียมกัน แต่ปลอดภัยและประหยัดกว่า
นอกจากยาแก้ปวดที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีแก้ปวดอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดหัวชนิดรุนแรงหรือปวดมากๆ ยิ่งขึ้น แต่ยากลุ่มนี้ ไม่มีฤทธิ์ลดไข้แก้ตัวร้อนเหมือนยากลุ่มแรก แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น จึงมีฤทธิ์เสพติด ถ้ามีการใช้ติดต่อกันนานในทางปฏิบัติจึงควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์หรือทันตแพทย์ในการสั่งจ่ายยากลุ่มนี้

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทำงานหนัก ป่วย...
เมื่อเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานขึ้นแล้ว แน่นอนหลายๆ คนจะนึกถึงการรักษาเป็นอย่างแรก และเมื่อรักษาหายแล้ว การทำงานยังคงเป็นแบบเดิม รูปแบบเดิมๆ ระดับความหนักเดิมๆ หรือแม้กระทั่งพบกับความเครียดเดิมๆ แน่นอนโรคเดิมก็จะกลับมาถามหาอีกแน่

เมื่อเป็นเช่นนี้ การจัดการโรคจึงไม่ใช่การรักษาอย่างเดียว หากแต่ต้องคำนึงถึงการป้องกันอันได้แก่การปรับเปลี่ยนให้งานเหมาะสมกับคน และการส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นเพื่อรองรับกับความหนักของงานได้ และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนพฤติกรรมของการทำงานและการดำรงชีวิตในแต่ละวัน

หลายคนมีปัญหาของโรค เช่นปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ เป็นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนสิ้นหวังกับการรักษา ท้อถอยกับการดำรงชีวิต เหตุการณ์เช่นนี้อย่าให้ได้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่ป่วยไข้ ขอให้ทำความรู้สึกเสมอว่ายังมีหวัง เมื่อยังมีหวังก็จะไม่สิ้นหวัง

หาเหตุได้ ก็มีหวัง
อาการเจ็บ ปวด ตึง เมื่อย ที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อ กระดูก และเอ็น อันเนื่องมาจากการทำงาน อาจเป็นอาการที่แสดงออกมาเพื่อให้ร่างกายได้รับรู้ว่าขณะนี้มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายแล้ว ร่างกายต้องการความสนใจจากเจ้าของว่าต้องดูแลรักษาแล้วนะ อาการเจ็บปวดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นว่าหากปวดที่ตำแหน่งนั้นแล้ว ต้นกำเนิดของอาการจะต้องมาจากอวัยวะที่เรารู้สึกปวด

"ต้องให้ผู้ป่วยมีความหวังก่อน โดยต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและเจ้าของหรือหัวหน้างาน"Ž

เนื่องจากอาการที่ปวดอาจเป็นอาการที่ร้าวมาจากที่อื่น หรือเป็นอาการที่ร่างกายมีการปรับตัวเพื่อให้ร่างกายสามารถดำรงอยู่ได้ เช่น

• การมีอาการปวดที่แขนหรือขา อาจมีต้นกำเนิดของอาการอยู่ที่คอ หรือหลังได้


• การมีอาการที่หลัง อาจเป็นปัญหามาจากการเปลี่ยนรองเท้าใหม่ แล้วรองเท้ากัดเท้า ทำให้การลงน้ำหนักของเท้าเปลี่ยนไป ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานไม่สมดุล กล้ามเนื้อหลังข้างหนึ่งเกร็งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ทำให้มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหลังได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ เวลามาพบแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ผู้ป่วยอาจได้รับการซักถามอาการที่นอกเหนือจากอาการหรือตำแหน่งที่ผู้ป่วยมีอยู่ ก็เพื่อเป็นการตรวจให้แน่ชัดว่า ปัญหานั้นมาจากที่ใด และเพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยต้องสังเกตอาการเพราะเมื่อมารับการตรวจร่างกายแล้ว จะได้ตอบคำถาม หรือบอกให้กับแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดได้ครบ และถูกต้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง

จะมีหวังที่กลับไปทำงานเดิมได้ไหม
เมื่อต้องกลับไปทำงาน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือจะต้องกลับไปเผชิญกับสภาพงานเดิมๆ ที่เป็นต้นเหตุทำให้บาดเจ็บ หากร่างกายไม่พร้อม อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นมาอีก จนบางครั้งเกิดการท้อถอย ลาออกจากงานหรือสิ้นหวัง กลายเป็นคนที่มีปัญหาทั้งร่างกายและจิตใจ

การรักษาที่เหมาะสมคือ ต้องให้ผู้ป่วยมีความหวังก่อน โดยต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างผู้ป่วยและเจ้าของหรือหัวหน้างาน การรักษาต้องอาศัยงานเข้ามาเป็นตัวประเมิน ซึ่งการรักษาลักษณะนี้แตกต่างจากการรักษาที่พบเห็นกันทั่วไป

สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือ การรักษาทั่วไปจะทำการรักษาเพื่อแก้ไขความบกพร่องของร่างกายด้วยระยะเวลาที่จำกัด ประมาณ 45 นาที ถึง 2 ชั่วโมงต่อครั้ง สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และแต่ละครั้งผู้ป่วยจะกลับบ้านไปพักหรือไปทำงานตามปกติ

การรักษารูปแบบนี้ จะเห็นว่าร่างกายได้รับการรักษาเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เวลาที่เหลือร่างกายต้องเผชิญกับงานที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้อีก

ขณะที่หากเรามองรูปแบบการรักษาอีกมุมหนึ่ง โดยการทำให้ทุกช่วงเวลาเป็นการรักษา รู้ตัวว่าเมื่อไหร่จะมีอาการ รู้ว่าอะไรเป็นตัวกระตุ้นอาการ จะทำให้มีช่วงเวลาการรักษามากขึ้น อาจถึงวันละ 8 ถึง 10 ชั่วโมง ดังนั้นการหายจากโรค หรือการสามารถกลับเข้าทำงานเดิมย่อมมีโอกาสเป็นไปได้

การรักษาต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างหัวหน้างานและผู้ป่วย หัวหน้างานต้องเข้าใจไม่คาดหวังว่า ในช่วงการรักษาผู้ป่วยจะทำงานได้เหมือนคนอื่นๆ ทั่วไป

ผู้ป่วยต้องทดสอบสมรรถภาพของร่างกายด้วยการทำงานเดิมที่เคยทำอยู่ แล้วให้สังเกตว่าอาการจะเริ่มมีเมื่อไหร่ หรือเมื่อความหนักเท่าไร เช่น ทำงานประมาณ 15 นาทีแล้วมีอาการ หรือเมื่อยกของ 3 กิโลกรัม จำนวน 10 ครั้งแล้วมีอาการ ระยะเวลาหรือน้ำหนักที่ทำได้ถือว่าเป็นเป้าหมายของผู้ป่วยคนนั้น เมื่อทำงานก็ไม่ควรทำเกินกว่าความสามารถที่ทำได้ นั่นหมายความว่าถ้าทำงานจริง ผู้ป่วยไม่ควรทำงานเกินกว่า 15 นาที หรือยกของหนักถึง 3 กิโลกรัม เกิน 10 ครั้ง

หากต้องทำงานมากกว่านั้น งานที่ทำต้องเบากว่าน้ำหนักที่ทดสอบ หากสามารถทำได้ ย่อมหมายความว่างานไม่ได้กระตุ้นให้อาการของโรคเกิดขึ้น

การรักษาอาจทำการจัดทำเป็นโปรแกรมการทำงาน ด้วยการผสมผสานระหว่างงาน การพัก และการออกกำลังกายให้เหมาะสม เช่น ทำงานไป 15 นาที แล้วพัก ระหว่างพักให้ทำการผ่อนคลาย ยืดกล้ามเนื้อ หรือออกไปเดินพักผ่อน แล้วค่อยกลับมาทำงานใหม่ แต่หากไม่สามารถพักได้อาจทำการเปลี่ยนจากงานนั้นแล้วไปทำงานอย่างอื่นที่มีรูปแบบการทำงานแตกต่างจากงานที่ทำอยู่ เพื่อให้มีการเปลี่ยนการทำงานของกล้ามเนื้อหรืออวัยวะจากตัวหนึ่งไปเป็นตัวอื่น

การรักษาต้องมีการปรับเป้าหมายไปเรื่อยๆ โดยทำการประเมินตัวใหม่ทุกๆ สัปดาห์ เพื่อหาเป้าหมายใหม่ โดยเดิมที่ทำได้ 15 นาทีแล้วต้องพัก อาจได้เป้าหมายใหม่เป็น 20 นาที ทำการขยับเป้าหมายไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถทำงานได้เหมือนปกติ

นอกเหนือไปจากนั้นต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันด้วย เพราะนอกเหนือจากงานแล้ว งานบ้านหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เราทำเป็นประจำอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการหรือการบาดเจ็บได้

การรักษารูปแบบนี้ เป็นการรักษาเสริมจากการรักษาปกติที่ได้รับอยู่ และให้ถือว่าการออกกำลังกายเป็นการรักษาหลักที่จะผลักดันให้ร่างกายต่อสู้กับระดับความหนักของงานได้

มีตัวอย่างผู้ป่วยรายหนึ่งที่ต้องมารับการรักษาอยู่อย่างต่อเนื่อง จากอาการปวดหลัง มีสาเหตุเพราะหมอนรองกระดูกสันหลังส่วนล่างกดทับเส้นประสาท ทุกครั้งที่ทำการรักษา ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อต้องเดินทางกลับไปที่พัก ก็เริ่มมีอาการกลับมา และหากต้องไปทำงาน จะทำงานได้ประมาณไม่ถึงครึ่งวัน ก็ไม่สามารถทนกับอาการปวดได้ หากให้ออกกำลังกายแม้เบาๆ เช่น การพลิกตัวไปมาอยู่กับเตียง ก็สามารถกระตุ้นอาการของโรคขึ้นมาได้ ผู้ป่วยรู้สึกท้อถอยและสิ้นหวังกับชีวิต การดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ไม่สามารถทำงานบ้าน หรืองานประจำได้

ผู้เขียนแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนงาน แต่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ ดังนั้นทางเลือกจึงเหลือน้อยลง
อย่างไรก็ตาม การกดทับของหมอนรองกระดูกไม่มากนัก การอ่อนแรงเนื่องจากระบบประสาทยังไม่ชัดเจนมาก แต่อาการเจ็บและความรู้สึกท้อถอยของผู้ป่วยมีมากกว่า

จากการพูดคุยตกลงกับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นต่ออาการของผู้ป่วยให้มากที่สุด ขณะเดียวกันได้ทำการปรึกษากันระหว่างแพทย์ที่ทำการดูแลผู้ป่วย ตัวผู้ป่วยเอง และที่ทำงานผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยหยุดงานเป็นระยะเวลา 1 เดือน สาเหตุเนื่องจากการเดินทางไปทำงาน และการทำงานเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดอาการของโรคได้อย่างชัดเจน และผู้เขียนต้องการให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอาการปวดของตนเองได้

ระยะเวลา 1 เดือนนั้น ผู้ป่วยทำการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงแรกต้องมีการออกกำลังกายภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด มีการวัดความดันและอัตราการเต้นของหัวใจตลอด เมื่อออกกำลังกายเสร็จ ก็ทำการรักษาอาการปวดต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยทำการรักษาทุกวันอย่างต่อเนื่อง ช่วงเวลาที่ไม่ได้รับการรักษา ก็หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการกระตุ้นของอาการ และทำการยืดกล้ามเนื้อรักษาตนเองไปด้วย

เมื่อเวลา 1 เดือนผ่านไประดับความแข็งแรงของร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้น ทำให้เริ่มกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ สู้กับการเดินทางไปที่ทำงาน หรือความหนักของงานได้ ถึงแม้ว่าจะมีอาการอยู่บ้าง แต่ก็ไม่รุนแรงมาก การรักษายังคงดำเนินต่อไป ด้วยการออกกำลังกาย และการกลับไปทำงาน โดยให้ผู้ป่วยรู้ตัวและหลีกเลี่ยงต่อตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ

ปัจจุบัน ผู้ป่วยยังคงออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อรักษาระดับสมรรถนะภาพของร่างกายให้สูงกว่าความหนักของงาน

ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่ผู้ป่วยท้อถอยและหมดหวังกับอาการที่ตนเองเป็นอยู่ และการรักษาทั่วไปไม่สามารถทำให้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ เชื่อว่าหลายคนที่มีอาการปวดอยู่ คงได้ประโยชน์ ไม่ท้อถอยและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อกลับไปสู่การทำงานและชีวิตที่ดีขึ้น

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขับรถนานๆ

อาการปวดเมื่อยและวิธีการบรรเทาอาการเบื้องต้น

ทั่วๆไปแล้ว อาการปวดบ่า กระบอกตา คอ หลัง หน้าขา (สะโพก) และน่อง เป็นอาการที่พบได้บ่อย เรามาลองดูสาเหตุและการบรรเทาอาการเหล่านี้กัน

เมื่อขับรถต้องใช้สายตามาก ไม่สามารถพักสายตาได้ ต้องเพ่งและมองไปข้างหน้าตลอด ถ้าหากแสงแดดจ้าก็จะทำให้ตาต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันการเพ่งสายตามีผลต่อท่าทางของคอ คือคอต้องตั้งตรงนานๆ ย่อมมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนักและเกิดอาการล้าได้

การเมื่อยล้าของคอส่งผลต่อการบีบรัดเส้นประสาทโดยเฉพาะที่ฐานกะโหลกด้านหลังทำให้ปวดศีรษะและกระบอกตาได้

วิธีการแก้ไขปัญหาปวดกระบอกตาและล้าของตาคือ ต้องใส่แว่นปรับสายตาหากมีปัญหาเรื่องสายตาสั้นหรือยาว จะทำให้ลดการเพ่งในขณะขับรถ และหากขับรถในเวลาที่แดดจัดควรใช้แว่นกันแดด เพื่อลดปริมาณแสงที่อาจทำให้ม่านตาทำงานหนักได้

ขณะที่พักรถ หรือช่วงติดไฟแดงอาจใช้เวลาเล็กน้อยที่จะมองไปยังต้นไม้ที่มีสีเขียว หรือหลับตาพักสายตาสักครู่ และหากเป็นไปได้การนวดบริเวณต้นคอและบ่า 2 ข้าง จะสามารถลดความตึงเครียด ของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นส่งผลให้ความรู้สึกล้าลดลงได้

ในขณะขับรถ กล้ามเนื้อบ่าจะทำงานเพื่อยกบ่าและแขนในการควบคุมพวงมาลัย หากการจับพวงมาลัยห่างจากตัวมากจะมีผลทำให้ต้องเอื้อมมือ ยืดแขนไปข้างหน้า กล้ามเนื้อบ่าและไหล่จึงทำงานมากขึ้นอีก และทำให้เกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อบ่า และเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้ในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจได้โดยการคลำกล้ามเนื้อนั้นๆ จะพบลำหรือปมแข็งในกล้ามเนื้อ เมื่อกดก็จะมีอาการเจ็บและร้าวได้

ดังนั้นการปรับระยะและความสูงของพวงมาลัยเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ต้องเข้าใจว่าในขณะขับต้องทิ้งน้ำหนักแขนส่วนหนึ่งไว้ที่พวงมาลัย ไม่เกร็งแขนและไหล่ตลอด การเกร็งและยกแขนนี้อาจทำให้การควบคุมพวงมาลัยทำได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น
อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดอาการตึงและปวดเมื่อยบ่านี้ได้โดยการหมุนไหล่แบบกายบริหารของเด็กๆ ที่หมุนไหล่มาข้างหน้าและย้อนกลับหลัง โดยทำเมื่อหยุดพัก หรือหากเมื่อยในขณะขับรถท่านสามารถทำการแบะไหล่ไปด้านหลัง และแอ่นตัวมาข้างหน้า หรือทำการหมุนไหล่ข้างเดียวได้ โดยพิจารณาถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่เป็นหลัก

สำหรับอาการปวดเมื่อยหลังเกิดขึ้นได้เนื่องจากท่านั่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกสันหลังมีแรงกดมากกว่าท่าอื่นๆ แม้ว่าจะมีเบาะพนักพิงก็ตาม แต่หลังที่อยู่ในลักษณะโค้งงอ ย่อมส่งผลต่อแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยมีแรงกดด้านหน้าหมอนรองกระดูกมากกว่าด้านหลัง หมอนรองกระดูกจึงมีแนวโน้มที่จะปลิ้นไปทางด้านหลัง และอาจเกิดปัญหาของหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทได้ เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหลังจะถูกยืดมากกว่าเมื่อหลังอยู่ในท่าตรง

ดังนั้น สิ่งที่ควรทำเมื่อพักรถคือ ค่อยๆ ลงจากรถ ไม่ลุกแบบพรวดพราด และก่อนจะลุกขึ้นควรทำการยืดตัวและแอ่นหลังประมาณ 3-4 ครั้งก่อน แล้วค่อยลุกขึ้น และเมื่อลุกขึ้นแล้วควรทำการยืดหลังและแอ่นหลังในขณะท่ายืนอีก 10 ครั้ง แล้วถึงจะทำการก้มหลังหรือใช้งานหลังได้ตามปกติ เหตุที่ให้ทำเช่นนี้เพราะว่าเอ็นที่อยู่ด้านหลังเมื่อนั่งนานๆ จะล้า ขาดความยืดหยุ่นตัว และถ้าก้มบิดตัว หรือใช้งานหลังหนักๆ (เช่น การยกของหนัก) การก้มขณะที่จะลุกจากรถ อาจมีผลต่อการเคลื่อนหรือปลิ้นตัวของหมอนรองกระดูกสันหลังได้หากเกิดอาการปวดเมื่อยล้าหลังขณะขับรถ คุณสามารถนำหมอนเล็กๆ สอดไว้ที่หลังส่วนล่างระหว่างเบาะกับหลังของคุณ เพื่อให้หมอนเป็นตัวดันให้หลังแอ่นตัวเล็กน้อย แต่ไม่ควรนั่งพิงหมอนนั้นตลอด เพราะจะเกิดความล้าต่อหลังได้เช่นกัน

การขับรถเกียร์อัตโนมัติ ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อหน้าขาและน่องเกิดได้จากการที่ต้องขยับขาเพื่อการเหยียบเบรกและคันเร่ง

ขณะที่ถ้าขับรถเกียร์ธรรมดา จะมีอาการเมื่อยล้าขาซ้ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเหยียบคลัตช์

การแก้ไขหรือลดอาการปวดขณะขับรถสามารถทำได้โดยการหมุนข้อเท้าจิกปลายเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าลงให้สุด โดยสามารถทำกับเท้าข้างซ้ายข้างเดียวในขณะขับรถ และหากเมื่อหยุดพักแล้วคุณสามารถทำกล้ามเนื้อหน้าขาทำได้โดยยืนแล้วพับเข่าไปด้านหลังโดยเอามือช่วยจับเข่างอเข้ามายังก้น

อย่างไรก็ตาม การขยับเขยื้อน ออกกำลังกายแบบนี้เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น และหากทำขณะขับรถให้คำนึงถึงความปลอดภัยในการขับขี่เป็นหลักด้วย

สิ่งที่จะต้องทำที่สุดคือ การหยุดพักบ่อยๆ เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ ล้างหน้าล้างตา และทำการออกกำลังกายตามที่ได้กล่าวมา หรือทำการบิดขี้เกียจก็ได้ในลักษณะเหมือนการบิดขี้เกียจตอนเช้าก่อนลุกขึ้นมาอาบน้ำ และเมื่อถึงที่หมายแล้ว ควรทำการนอนยกขาสูง โดยการนอนราบกับพื้นแล้วทำการยกขาแบบงอเข่าเล็กน้อยพาดกับเก้าอี้หรือโซฟา เพื่อให้เลือดไหลและน้ำเหลืองไหลกลับได้ง่ายขึ้น และทำให้หลังได้พักตัวลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังได้


 :D :D ขอขอบคุณ เครดิต  http://www.doctor.or.th/all   (หมอชาวบ้าน)ค่ะ


pob

  • ผู้วิเศษเลือดสีโคลน
  • ***
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 143
  • Hogwarts iS my home.
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2009, 11:16:10 am »
ขอบคุณนะครับที่นำมาฝาก
NP

tachamaporn

  • ผู้วิเศษเลือดผสม
  • ****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 154
  • แฮร์รี่ตอนเด็กน่ารักที่สุด
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 28 ธันวาคม 2009, 05:55:06 am »
โห!!! ได้ความรู้เยอะมากเลย

ขอบคุณนะที่นำมาฝาก

 :)

lovetoken

  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 85
  • ความรัก...คืออะไร
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 11 มกราคม 2010, 05:49:29 am »
ขอบคุณที่นำความรู้ดีๆมาฝากค่ะ ^^

limeade

  • บุคคลทั่วไป
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 14 มกราคม 2010, 12:42:36 pm »
ขอบคุณนะค่ะ
สำหรับความรู้ดีๆค่า

Piloty Potter

  • Only U!! Only Harry!!
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 358
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 14 มกราคม 2010, 01:38:16 pm »
ขอบคุณที่นำมาฝากนะคะ

ความรู้ทั้งนั้นเลย

PON EILEEN SNAPE

  • LOVE HARRY POTTER ALWAYS
  • นักเรียนโรงเรียนเวทมนตร์ปี 3
  • ********
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 605
  • I LOVE SEVERUS SNAPE
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 16 มกราคม 2010, 02:26:10 pm »
ขอบคุณสำหรับบทความนะค่ะ

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ

ChelseaFC_FiFA_118726

  • Status : คิดถึง PSW Family ทุกคนนะครับ ; )
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 293
  • Status : This's Bad
    • www.chelseafc.com
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 18 มกราคม 2010, 03:41:50 pm »
 :-*ขอขอบคุณที่นำบทความดีๆ มาเล่าสู่กันฟังนะครับ  :D

De_PaKaPol

  • ผู้วิเศษเลือดบริสุทธิ์
  • *****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 205
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2010, 11:43:18 am »
ขอบคุณนะครับ  :D

ooa

  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 80
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 03 กุมภาพันธ์ 2010, 01:57:42 am »
รำ
ลึกถึง...........

พระคุณแม่เสมอ


 :-*

แฮร์รี่ พอตเตอร์

  • อยากเรียนจบเร็วๆจัง
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 10 มีนาคม 2010, 09:52:15 am »
น้ำนมแม่มักมีประโยชน์เสมอ มีแอนติบอดีต้านเชื้อโรคและอีกมากมาย 
ควรตอบแทนคุณท่านเยอะๆๆ  ขอบคุณที่นำมาฝากครับ ได้ความรู้ดี
แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์

[ [ ◘ อะรี่ พอตเตอร์ ◘ ] ]

  • Hold On ~ Only U ...!
  • มนุษย์หมาป่า
  • ******
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 256
  • " Everything " means " Nothing " !!
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 10 มีนาคม 2010, 10:59:35 am »
โอ้ ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆค่า ~

 :D

~:: BaipLu ::~

  • Not always see, but [will try to] always there.
  • ผู้วิเศษเลือดผสม
  • ****
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 186
  • Return, real one!!
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 26 มีนาคม 2010, 08:02:28 am »
ขอบคุณที่นำมาฝากกันค่ะ  ;)
 เยอะจนตาลายอ่านไม่หมดเลยจริง ๆ นะคะเนี่ย
โลกนี้ไร้ซึ่งคนแปลกหน้า มีเพียงเพื่อนที่เรายังไม่รู้จัก

nakan1412

  • เอ็กเปรสโต พาโทรนม....
  • สควิบ
  • **
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • เอ็กเปรสโต พาโทรนม....
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2010, 10:25:08 am »
ขอบคุณคะ   :-\

pompampotter

  • บุคคลทั่วไป
Re: 18/12/2552 น้ำนมเเม่มีค่านัก&อาการปวด...
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 29 มีนาคม 2011, 06:11:59 am »
 :)

โห

จริงๆนะคะเนี๊ย

 8)

 

SMF spam blocked by CleanTalk